วันอาทิตย์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ค่านิยมหลัก 12 ประการ

กิจกรรมส่งเสริมค่านิยมไทย ๑๒ ประการ

         

  การสร้างค่านิยมหลักของคนไทย ตามนโยบายของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)เพื่อสร้างสรรค์ประเทศไทยให้เข้มแข็ง โดยต้องสร้างคนในชาติ ให้มีค่านิยมไทย 12 ประการ


1 มีความรักชาติ ศาสน์ กษัตริย์


                1.1 เป็นพลเมืองดีของชาติ  พฤติกรรมบ่งชี้  เช่น  ยืนตรงเคารพธงชาติ  ร้องเพลงชาติและอธิบายความหมายของเพลงชาติได้ถูกต้อง                 1.2 ธำรงไว้ซึ่งความเป็นไทย  พฤติกรรมบ่งชี้  เช่น  เข้าร่วม ส่งเสริม สนับสนุนกิจกรรมที่สร้างความสามัคคี ปรองดองที่เป็นประโยชน์ต่อ โรงเรียน ชุมชนและสังคม                 1.3 ศรัทธา ยึดมั่น ปฏิบัติตนตามหลักของศาสนา พฤติกรรมบ่งชี้  เช่น  เข้าร่วมกิจกรรมทางศาสนาที่ตนเองนับถือ (ศาสนาพุทธ) และปฏิบัติตนตามหลักของศาสนาที่ตนนับถือ
 
                 1.4 เคารพเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์  พฤติกรรมบ่งชี้  เช่น  มีส่วนร่วมหรือจัดกิจกรรมที่เกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ 
        


2 มีความซื่อสัตย์สุจริต
               2.1 ประพฤติตรงตามความเป็นจริงต่อตนเองทั้งทายกาย วาจา ใจ พฤติกรรมบ่งชี้ เช่น ให้ข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นจริงปราศจากความลำเอียง  และปฏิบัติตนโดยคำนึงถึงความถูกต้องละอายและเกรงกลัวต่อการกระทำผิดและปฏิบัติตามคำมั่นสัญญา
               2.2  ประพฤติตรงตามความเป็นจริงต่อผู้อื่นทั้งทายกาย วาจา ใจ  พฤติกรรมบ่งชี้  เช่น  ไม่ถือเอาสิ่งของหรือผลงานของผู้อืนมาเป็นของตนเอง  ปฏิบัติตนต่อผู้อื่นด้วยความซื่อตรงและไม่หาประโยชน์ในทางที่ไม่ถูกต้อง
 



3 กตัญญูต่อพ่อแม่ ผู้ปกครอง ครูบาอาจารย์
          3.1  ปฏิบัติตามข้อตกลง  กฎเกณฑ์  ระเบียบข้อบังคับของครอบครัว  โรงเรียน  และสังคม  พฤติกรรมบ่งชี้  เช่น  ปฏิบัติตามข้อตกลง  กฎเกณฑ์ ระเบียบข้อบังคับของครอบครัว  โรงเรียน และสังคม ไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่น  และตรงต่อเวลาในการปฏิบัติกิจกรรมต่างๆในชีวิตประจำวันและรับผิดชอบในการทำงาน
 

4 ใฝหาความรู้่ หมั่นศึกษาเล่าเรียนทั้งทางตรงและทางอ้อม
          4.1   ตั้งใจเพียรพยายามในการเรียน และเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้  พฤติกรรมบ่งชี้  เช่น  ตั้งใจเรียน  เอาใจใส่และมีความเพียรพยายามในการเรียนรู้  และสนใจเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ต่างๆ
          4.2   แสวงหาความรู้จากแหล่งเรียนรู้ต่างๆทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน  ด้วยการเลือกใช้สื่ออย่างเหม่ะสม  บันทึกความรู้ วิเคราะห์สรุปเป็นองค์ความรู้  และสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้  พฤติกรรมบ่งชี้  เช่น  ศึกษาค้นคว้าหาความรู้จากหนังสือ  เอกสาร  สิ่งพิมพ์  สื่อ  เทคโนโลยีต่างๆ  แหล่งเรียนรู้ทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน และเลือกใช้สื่อได้อย่างเหมาะสม  บันทึกความรู้  วิเคราะห์  ตรวจสอบจากสิ่งที่เรียนรู้  สรุปเป็นองค์ความรู้  และแลกเปลี่ยนความรู้ด้วยวิธีการต่างๆเพื่อนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน


 5.รักษาวัฒนธรรมประเพณีไทย
         5.1 ภาคภูมิใจในขนบธรรมเนียม ประเพณี  ศิลปะ  วัฒนธรรมไทยและมีความกตัญญูกตเวที พฤติกรรมบ่งชี้ เช่น แต่งกายและมีมารยาทงดงามแบบไทย  มีสัมมาคารวะ   กตัญญูกตเวทีต่อผู้มีพระคุณ  ร่วมกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับประเพณี ศิลปะ และวัฒนธรรมไทย  และชักชวน แนะนำให้ผู้อื่นตามขนบธรรมเนียมประเพณี ศิลปะ และวัฒนธรรมไทย
        5.2 เห็นคุณค่าและใช้ภาษาไทยในการสื่อสารได้อย่างถูกต้องเหมาะสม  พฤติกรรมบ่งชี้  เช่น ใช้ภาษาไทยและเลขไทยในการสื่อสารได้อย่างถูกต้อง เหมาะสมและชักชวน แนะนำให้ผู้อื่นเห็นคุณค่าของการใช้ภาษาไทยที่ถูกต้อง
       5.3 อนุรักษ์และสืบทอดภูมิปัญญาไทย  พฤติกรรมบ่งชี้  พฤติกรรมบ่งชี้  เช่น  นำภูมิปัญญาไทยมาใช้ให้เหมาะสมในวิถีชีวิต  ร่วมกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับภูมิปัญญาไทยและแนะนำ มีส่วนร่วมในการสืบทอดภูมิปัญญาไทย

        5.2 เห็นคุณค่าและใช้ภาษาไทยในการสื่อสารได้อย่างถูกต้องเหมาะสม  พฤติกรรมบ่งชี้  เช่น ใช้ภาษาไทยและเลขไทยในการสื่อสารได้อย่างถูกต้อง เหมาะสมและชักชวน แนะนำให้ผู้อื่นเห็นคุณค่าของการใช้ภาษาไทยที่ถูกต้อง
       5.3 อนุรักษ์และสืบทอดภูมิปัญญาไทย  พฤติกรรมบ่งชี้  พฤติกรรมบ่งชี้  เช่น  นำภูมิปัญญาไทยมาใช้ให้เหมาะสมในวิถีชีวิต  ร่วมกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับภูมิปัญญาไทยและแนะนำ มีส่วนร่วมในการสืบทอดภูมิปัญญาไทย


6.มีศีลธรรม รักษาความสัตย์


7. เข้าใจเรียนรู้การเป็นประชาธิปไตย


8. มีระเบียบวินัย รักษากฎหมาย ผู้น้อยรู้จักเคารพผู้ใหญ่


9. มีสติรู้ตัว รู้คิด รู้ทำ
               9.1  ตั้งใจและรับผิดชอบ มีสติ คิดรอบคอบ ทำในสิ่งที่เป็นประโยชน์ ในการปฏิบัติหน้าที่การงาน   พฤติกรรมบ่งชี้  เช่น  เอาใจใส่ต่อการปฏิบัติหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย  ตั้งใจและรับผิดชอบในการทำงานให้สำเร็จ  และปรับปรุงและพัฒนาการทำงานด้วยตนเอง
              9.2   ทำงานด้วยความเพียรพยายามและอดทนเพื่อให้งานสำเร็จตามเป้าหมาย  พฤติกรรมบ่งชี้  เช่น  ทุ่มเททำงาน  อดทน ไม่ย่อท้อต่อปัญหาและอุปสรรคในการทำงาน
พยายามแก้ปัญหาและอุปสรรคในการทำงานให้สำเร็จ และชื่นชมผลงานด้วยความภาคภูมิใจ


10. รู้จักดำรงตนโดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
       10.1  ดำเนินชีวิตอย่างพอประมาณ  มีเหตุผล  รอบคอบ  มีคุณธรรม   พฤติกรรมบ่งชี้ เช่น  ใช้ทรัพย์สินของตนเอง เช่น  เงิน  สิ่งของ เครื่องใช้  ฯลฯ  อย่างประหยัด คุ้มค่า
และเก็บรักษาดูแลอย่างดี รวมทั้งการใช้เวลาอย่างเหมาะสม  ใช้ทรัพยากรของส่วนรวมอย่างประหยัด  คุ้มค่า และเก็บรักษาดูแลอย่างดี  ปฏิบัติตนและตัดสินใจด้วยความรอบคอบ
มีเหตุผลและไม่เอาเปรียบผู้อื่นและไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน  พร้อมให้อภัยเมื่อผู้อื่นกระทำผิด
         10.2 มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี ปรับตัวเพื่ออยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข พฤติกรรมบ่งชี้ เช่น  วางแผนการเรียน การทำงานและการใช้ชีวิตประจำวันบนพื้นฐานของความรู้  ข้อมูล
ข่าวสารและรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของสังคมและสภาพแวดล้อม ยอมรับและปรับตัวเพื่ออยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข


11. มีความเข้มแข็งทั้งร่ายกายและจิตใจ ไม่ยอมแพ้ต่ออำนาจใฝ่ตำ


 12. คำนึงถึงผลประโยชน์ของส่วนรวมมากกว่าผลประโยชน์ของตนเอง
        12.1 ช่วยเหลือผู้อื่นด้วยความเต็มใจและพึงพอใจโดยไม่หวังผลตอบแทน  พฤติกรรมบ่งชี้  เช่น  ช่วยพ่อแม่ ผู้ปกครอง ครูทำงานด้วยความเต็มใจ  อาสาทำงานให้ผู้อื่น
ด้วยกำลังกาย กำลังใจ และกำลังสติปัญญาโดยไม่หวังผลตอบแทนและแบ่งปันสิ่งของ  ทรัพย์สิน และอื่นๆและช่วยแก้ปัญหาหรือสร้างความสุขให้กับผู้อื่น
        12.2 เข้าร่วมกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อโรงเรียน ชุมชนและสังคม พฤติกรรมที่บ่งชี้  เช่น  ดูแลรักษาสาธารณสมบัติและสิ่งแวดล้อมด้วยความเต็มใจ  เข้าร่วมกิจกรรม
ที่เป็นประโยชน์ต่อโรงเรียน ชุมชนและสังคม และเข้าร่วมกิจกรรมเพื่อแก้ปัญหาหรือร่วมสร้างสิ่งที่ดีงามของส่วนรวมตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้นด้วยความกระตือรือร้น

ค่านิยมหลักของคนไทย 12 ประการ

วันพฤหัสบดีที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2558

วิธีการเลิกสูบบุหรี่


วิธีการเลิกสูบบุหรี่




  1. หากำลังใจ กำลังใจจากคนรอบข้างถือเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้คุณมีความพยายามที่จะเลิกสูบบุหรี่ได้ คุณควรบอกให้คนใกล้ชิดทราบถึงความตั้งใจดังกล่าว
  2. ต้องมีเป้าหมาย เป้าหมายเป็นสิ่งสำคัญ คุณควรรู้ว่าจะทำไปเพื่อใคร หากคิดว่าอยากสูบบุหรี่ขึ้นมาเมื่อไหร่ ก็ขอให้คุณย้ำเตือนตัวเองอยู่เสมอว่าที่เลิกนั้นเพื่ออะไร เช่น เพื่อคนที่คุณรักและคนรอบข้าง เพื่อเก็บเงินในการสร้างอนาคต หรือเพื่อสุขภาพที่ดีขึ้น ฯลฯ แต่บางคนอาจถึงขนาดสาบานต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เคารพกันเลยทีเดียว แต่เชื่อไหมว่ามันเลิกได้จริง !
  3. เตรียมใจยอมรับ คุณควรค้นหาสาเหตุที่แท้จริงที่เป็นตัวกระตุ้นให้คุณสูบบุหรี่ เพื่อจะได้กับสาเหตุอย่างถูกวิธี เช่น สูบเพราะเครียด อยากเข้ากับเพื่อน งานเลี้ยง ดื่มเหล้า หรือเป็นแค่ความเคยชินหลังมื้ออาหาร ฯลฯ และต้องทำความเข้า และยอมรับอาการต่างๆ ที่เกิดขึ้นในระหว่างการเลิกบุหรี่ เช่น กระวนกระวาย หงุดหงิด ง่วงเหงาหาวนอน เป็นต้น พร้อมกับให้กำลังใจตัวเองว่าอาการเหล่านี้มันจะผ่านไปได้ในระยะเวลาเพียงไม่กี่วัน
  4. ต้องวางแผน คุณควรวางแผนการปฏิบัติตัว โดยกำหนดวันที่จะเลิกสูบบุหรี่ โดยเลือกเป็นวันสำคัญต่างๆ ของครอบครัว เช่น วันเกิดตัวเอง วันเกิดลูกหรือคนในครอบครัว วันครบรอบแต่งงาน วันสำคัญทางศาสนา แต่ทั้งนี้ไม่ควรกำหนดวันที่ห่างไกลมากจนเกินไป หรือเป็นวันที่คุณมีภาระต้องรับผิดชอบ เช่น ช่วงสอบ ช่วงที่ต้องไปกินเลี้ยงหรือมีงานสังคม เพราะอาจมีแรงจูงใจทำให้ไม่สามารถเลิกได้ตามที่ตั้งใจไว้ หรือคุณอาจสร้างพิธีกรรมเล็กๆ สำหรับวันส่งท้ายด้วยการนำบุหรี่ที่เหลือมาเผาไฟต่อหน้าพร้อมกับกระดาษที่เขียนถึงโทษของการสูบบุหรี่สำหรับวันแรกของการเลิกบุหรี่
  5. เลิกในทันที – หักดิบ (Cold turkey) การเลิกขาดในทันทีจะได้ผลชะงัดกว่าการลดปริมาณการสูบ วิธีนี้ใช้กันมาตั้งแต่สมัยโบราณ เป็นการให้ผู้ติดบุหรี่เลิกสูบในทันทีโดยไม่ต้องมีการใช้ยาหรือความช่วยเหลือใดๆ โดยทั่วไปวิธีนี้อาการขาดนิโคตินจะหายไปได้เองภายในระยะเวลา 2-3 สัปดาห์ ช่วงนี้อาจจะทนทรมาน และลำบากใจสุด แต่ก็ต้องอดทน ผ่านไปได้โอกาสเลิกได้ก็เป็นไปได้สูง อาการไม่สบายตัวต่างๆ ก็จะหายไป แต่ยังไงก็ยังดีกว่าทรมานอย่างช้าๆ ด้วยวิธีการลดปริมาณลงเรื่อยๆ จริงไหม ?
  6. ทำจิตใจให้เข้มแข็งไม่หวั่นไหว เมื่อถึงวันลงมือปฏิบัติ ควรตื่นนอนด้วยความสดชื่น หายใจให้เต็มปอดสัก 10 ครั้ง อย่างช้าๆ และปล่อยให้จินตนาการรู้สึกดีกับมวลอากาศบริสุทธิ์ พร้อมบอกกับตัวเองว่าคุณกำลังทำสิ่งที่ดีที่สุดให้กับตนเองและคนรอบข้าง รวมถึงทบทวนเหตุผลที่ทำให้คุณตัดสินใจเลิกบุหรี่ ปรับเปลี่ยนอิริยาบถ หันมาใกล้ชิดกับคนที่ไม่สูบบุหรี่ และหลังเลิกสูบบุหรี่มาอย่างน้อย 2-3 อาทิตย์ ก็อาจทำให้เกิดอาการอยากบุหรี่ขึ้นมาได้ วิธีที่สำคัญที่สุดในการเลิกบุหรี่อย่างถาวรก็คือการทำจิตใจให้เข้มแข็งและมีความเชื่อมั่นในตัวเองว่าเราสามารถเลิกบุหรี่ได้
  7. ทิ้งบุหรี่และที่เขี่ยบุหรี่ไปให้พ้นสายตา การจะเลิกทั้งทีก็ต้องจัดการให้เด็ดขาด อย่ารอช้าที่จะทิ้งอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับบุหรี่ให้หมด ทิ้งได้ก็ต้องทิ้ง อย่าไปเสียดายครับ เพราะหากมีสิ่งยั่วยุเหล่านี้ขึ้นมาขวางตาขวางใจ ก็อาจทำให้ใจเราเขวได้ คิดซะว่าทำเพื่อสุขภาพแล้วกันเน๊อะ


  8. จัดการดูแลตัวเอง ในระยะแรกของการเลิกสูบบุหรี่ใหม่ๆ คุณอาจเกิดอาการอยากบุหรี่อยู่บ่อยครั้ง ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติ เพราะเป็นการเสพติดมาจากพฤติกรรมการสูบเดิม ดังนั้นหากมีอาการอยากสูบ ก็ขอแนะนำให้รับประทานผลไม้รสเปรี้ยวหรือดื่มน้ำผลไม้ กินของขบเคี้ยว เคี้ยวหมากฝรั่ง อมลูกอม เคี้ยวไม้จิ้มฟัน อาบน้ำ แปรงฟัน หรือดมยาดมก็ได้ เพื่อช่วยทำให้ไม่รู้สึกอยากสูบบุหรี่ แต่ถ้ามีอาการกระสับกระส่ายและง่วงก็ให้นอนหลับไปเลย หรอไม่ก็ไปหาที่สงบๆ ออกไปสูดอากาศตามธรรมชาติ เปิดเพลงนุ่มๆ ฟังสบายๆ หาคนมานวดหลังและไหล่เพื่อให้เลือดลมหมุนเวียนดีขึ้น ถ้าทนไม่ได้ก็ให้หายางมารัดข้อมือไว้ เมื่อรู้สึกกระสับกระส่ายก็ให้ดีดยางรัดทันที ซึ่งความเจ็บจะดึงความคิดออกจากความอยากบุหรี่ได้ แม้จะเป็นวิธีที่เจ็บแต่ได้ผลนะเออ ส่วนสุรา ชา กาแฟ และน้ำอัดลมควรหลีกเลี่ยง เพราะสิ่งเหล่านี้จะทำให้เกิดความอยากในการสูบบุหรี่มากยิ่งขึ้น รวมไปถึงการหลีกเลี่ยงอาหารรสจัด อาหารมันจัด เผ็ดจัด หรือหวานจัด เพราะอาหารเหล่านี้มีผลเสียโดยตรงต่อสุขภาพจิต ทำให้อารมณ์แปรปรวนได้ง่าย และให้หันมารับประทานอาหารที่มีประโยชน์ถูกหลักโภชนาการแทน แต่สำหรับคนที่ติดการสูบบุหรี่หลังการรับประทานอาหาร เมื่อรับประทานอาหารเสร็จก็ควรจะรีบลุกออกจากโต๊ะอาหารทันที แล้วหันไปหากิจกรรมอื่นๆ ทำซะ
  9. ดื่มน้ำให้มากๆ คุณควรดื่มน้ำวันละ 6-8 แก้ว เพราะการดื่มน้ำสามารถช่วยกำจัดสารนิโคตินออกจากร่างกายได้ ไม่ว่าจะเป็นตั้งแต่ตอนตื่นนอนตอนเช้า หลังอาหารทุกมื้อ ช่วงระหว่างอาหาร และก่อนเข้านอน
  10. ไม่หมกมุ่นและไปหากิจกรรมทำซะ แน่นอนว่าเมื่อคุณไม่ได้สูบบุหรี่ คุณเองก็จะมีเวลาให้กับตัวเองมากขึ้น เพราะฉะนั้นอย่าปล่อยเวลาเหล่านี้ให้เปล่าประโยชน์ คุณควรเอาเวลานั้นมาหากิจกรรมที่คุณชื่นชอบมาทำ ไม่ว่าจะเป็นการออกกำลังกายในแบบที่ตัวเองถนัดอย่างน้อยวันละ 15-20 นาที (เพื่อกระตุ้นร่างกายให้แข็งแรงและซ่อมแซมส่วนที่เสียหายจากภัยบุหรี่) อ่านหนังสือขำขัน การเล่มเกมเมื่อมีเวลาว่าง พูดคุยกับคนอื่นๆ หรือแต่งบ้านทำสวนก็ดูจะเข้าท่าไม่น้อย แถมยังช่วยผ่อนคลายความเครียดได้เป็นอย่างดีอีกด้วย เพราะอย่าลืมว่ายังมีคนไม่สูบบุหรี่อีกมากที่หาวิธีคลายเครียดได้โดยไม่ต้องพึ่งบุหรี่
  11. หายใจลึกๆ ช้าๆ ติดต่อกัน โดยให้ทำต่อเนื่องกัน 5 นาทีทุกวัน ด้วยการหลับตาและสูดลมหายใจเข้าช้าๆ ด้วยจมูกจนเต็มปอด แล้วค่อยๆ ปล่อยออกอย่างช้าๆ ระหว่างทำให้คุณสร้างความรู้สึกดีตามไปด้วย พยายามจินตนาการถึงความรู้สึกที่แตกต่างของการไม่มีควันบุหรี่เข้ามาในชีวิต แต่ถ้ายังไม่รู้สึกก็ควรสร้างอุปทาน เช่น ลมหายใจหอมสดชื่นขึ้น รู้สึกเหนื่อยน้อยลงเนอะ หรืออะไรก็ตามที่เป็นสิ่งดีๆ จากการไม่สูบบุหรี่
  12. อาบน้ำหรือแช่น้ำอุ่นวันละ 2-3 ครั้ง โดยให้ทำครั้งละประมาณ 15-20 นาที หลังจากอาบน้ำอุ่นด้วยน้ำอุ่นแล้ว ควรตามด้วยการอาบด้วยน้ำเย็นเพื่อช่วยเพิ่มสดชื่นให้กับร่างกาย
  13. อยู่ให้ห่างจากสภาพแวดล้อมเดิมๆ คุณควรพยายามหลีกเลี่ยงไปยังสถานที่หรือช่วงเวลาที่คุณเคยสูบบุหรี่เป็นประจำ รวมไปถึงกิจกรรมต่างๆ ที่อาจทำให้คุณอยากสูบบุหรี่ เช่น การดื่มแอลกอฮอล์ ดื่มกาแฟ ฯลฯ เพราะความเคยชินดังกล่าวอาจเป็นสาเหตุทำให้คุณหวนกลับไปสูบบุหรี่อีกครั้ง ให้คุณลองหาสถานที่ใหม่ๆ บรรยากาศใหม่ๆ หรือไปเดินออกกำลังกายบ้างเล็กน้อยก็ช่วยได้เยอะ !
  14. อย่าใจอ่อนกับตัวเองเป็นอันขาด เชื่อว่าคงมีหลายคนที่บอกกับตัวเองว่า “อีกสักมวนคงไม่เป็นไร” หรือ “วันนี้สักหน่อยก่อนแล้วกัน พรุ่งนี้ค่อยเลิก” ฯลฯ รวมไปถึงการท้าทายตัวเอง โดยคิดว่ากลับไปลองสูบบ้างเป็นครั้งคราวคงไม่เป็นไร เหล่านี้ห้ามเด็ดขาด เพราะนั่นหมายถึงความพยายามที่คุณตั้งใจมาทั้งหมดนั้นมันจะสูญเปล่า ไม่มีค่า หรือเกิดประโยชน์ใดๆ กับคุณเลย คุณต้องใจแข็งและผ่านมันไปให้ได้
  15. อย่าละเลยแม้เพียงเล็กน้อย ขอให้คุณอย่ายอมแพ้หรือปล่อยให้โอกาสบางโอกาสนำคุณกลับไปสูบบุหรี่ได้ ไม่ว่าจะเป็นเพื่อนชวน สังคมของคุณ หรือมีสิ่งดึงดูดใจต่างๆ ขอให้คุณทำตามเป้าหมายของตัวเองให้สำเร็จตามที่ตั้งใจไว้ก็เป็นพอ
  16. ถ้าต้องสูบจริงๆ อย่าตอบสนองตัวเองทันที ให้ทำเล่นตัวสักประมาณครึ่งชั่วโมง แล้วค่อยสูบ เพื่อช่วยลดความกระวนกระวายที่ต้องทำทันทีเมื่อรู้สึกต้องการ และให้คุณลองเปลี่ยนมือที่ใช้คีบบุหรี่ เปลี่ยนชนิดบุหรี่ เปลี่ยนยี่ห้อที่คุณไม่ชอบ และจำกัดสถานที่ในการสูบให้เข้มงวด เช่น ถ้าจะสูบต้องสูบบนระเบียงชั้นสามขวามือและต้องสูบตอน 3 ทุ่มเท่านั้น
  17. อย่าท้อแท้ หากคุณต้องหันกลับไปสูบบุหรี่อีกครั้ง มันก็ไม่ได้หมายความว่าคุณเป็นคนล้มเหลว อย่างน้อยคุณก็ได้เรียนรู้ถึงการที่จะปรับปรุงตัวเองในการเลิกสูบครั้งต่อไป ขอเพียงพยายามต่อไปที่จะเตรียมตัวสู้กับมันอีกครั้งและหยุดบุหรี่ให้ได้ อย่างน้อยๆ คุณลดปริมาณบุหรี่ที่เคยสูบได้มากกว่าเดิม
  18. การทำกิจกรรมกลุ่มพฤติกรรมบำบัด โดยเข้ารับการปรึกษาหรือรับคำแนะนำจากหน่วยงานที่เกี่ยวหรือแพทย์
  19. อาหารเลิกบุหรี่ อาหารที่ควรหลีกเลี่ยงนั้นของผู้ติดบุหรี่นั้น ได้แก่ เครื่องดื่มจำพวก กาแฟ ชา และน้ำอัดลม (เพราะมีนิโคตินเช่นเดียวกับบุหรี่), เหล้าหรือแอลกอฮอล์ (ทำให้ลิ้นรับรสได้มากขึ้น) รวมไปถึงเนื้อสัตว์ (เนื่องจากตัวส่งเสริมการรับรสของผู้สูบให้ยิ่งสูบมากขึ้น) ส่วนอาหารที่จะช่วยทำให้อดบุหรี่หรือเลิกบุหรี่ได้นั้น มีดังนี้
    • ผลไม้ที่มีวิตามินซีสูง เช่น มะนาว ส้ม ฝรั่ง เสาวรส ก็ช่วยได้มาก เพราะการสูบบุหรี่ 1 มวน ร่างกายจะเสียวิตามินซีไปถึง 60 มิลลิกรัม หรือพอๆ กับส้ม 1 ลูก การดื่มน้ำผลไม้เหล่านี้จึงช่วยเพิ่มวิตามินซีให้กับร่างได้
    • ผักเขียวจัด โดยหลักแล้วแนะนำว่าผักยิ่งเขียวยิ่งดี เพราะนอกจากจะมีฤทธิ์สกัดความอยากบุหรี่แล้วยังมีคลอโรฟิลล์และสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยล้างพิษในร่างกายได้อีกด้วย
    • ถั่ว ไข่ อกไก่ อาหารทั้งสามนี้ทางมหาวิทยาลัยแมสซาชูเซตส์แนะนำให้ทานในผู้ที่ต้องการอดบุหรี่ เพราะอาหารเหล่านี้จะไปช่วยสร้างสารซีโรโทนิน (Serotonin) จะช่วยให้การเลิกบุหรี่ได้ง่ายขึ้น
    • นมสด จากการศึกษาเมื่อไม่นานมานี้พบว่าเมื่อสูบบุหรี่แล้วจะทำให้กินอาหารบางอย่างไม่อร่อย โดยเฉพาะ “นมวัว” เลยอยากให้ท่านที่รักการดื่มนมวัวเข้าไว้ เผื่อจะทำให้เกิดความเบื่อบุหรี่ขึ้นมาบ้าง แต่ถ้าแพ้นมวัวคุณอาจจะเปลี่ยนมาเป็นนมเปรี้ยวหรือโยเกิร์ตก็ได้ครับ
    • ปลา โอเมก้าสามที่มีอยู่ในปลานั้นสามารถช่วยลดการอักเสบจากพิษบุหรี่ในร่างกายได้ อีกทั้งในปลายังมีแอล-อาจินีน (L-arginine) ที่ช่วยขยายหลอดเลือดตามอวัยวะให้เลือดไหลเวียนดีขึ้น
  20. วิธีเลิกบุหรี่ด้วยมะนาว จากผลวิจัยพบว่า วิตามินซีมีสารที่ช่วยลดความอยากนิโคตินได้ และยังช่วยฟื้นฟูร่างกายที่ทรุดโทรมให้สดชื่นกระปรี้กระเปร่า จึงมีการนำมาใช้เพื่อเป็นตัวช่วยในการเลิกบุหรี่ วิธีการก็คือให้นำมะนาวมาล้างให้สะอาดแล้วหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ ให้มีเปลือกติดมาด้วยขนาดเท่าหัวแม่มือ หรือพอดีคำ เมื่อรู้สึกอยากบุหรี่เมื่อไหร่ก็ให้กินมะนาวหั่นแทน โดยอมแล้วค่อยๆ ดูดเอาความเปรี้ยว จากนั้นเคี้ยวเปลือกอย่างช้าๆ ประมาณ 3-5 นาที แล้วดื่มน้ำตาม 1 อึก วิธีนี้นอกจากจะช่วยลดความรู้สึกอยากนิโคตินได้แล้ว เมื่อสูบบุหรี่จะทำให้รสชาติบุหรี่เปลี่ยนเป็นขมขนไม่อยากสูบ (ผลไม้รสเปรี้ยวอื่นๆ ก็ใช้ได้เช่นกัน แต่มะนาวจะได้ผลดีที่สุด) ซึ่งการเลิกบุหรี่ด้วยการกินมะนาวนี้ส่วนใหญ่จะเลิกบุหรี่ได้ใน 2 สัปดาห์ และจะไม่อยากสูบบุหรี่อีก เพราะร่างกายสามารถเอาชนะนิโคตินได้ แต่ในเรื่องของอาการทางใจบางครั้งอาจยังมีความต้องการอยู่บ้าง
  21. อาหารเสริมช่วยได้ ให้คุณหาอาหารเสริมจำพวกวิตามินบีรวมมารับประทานซะ จะในรูปแบบแคปซูลหรือแบบเม็ดก็ตามแต่ หรือจะทานจมูกข้าวสาลี (Wheat Germ) 1-2 ช้อนโต๊ะ ผสมกับนมสดหลังอาหาร เป็นต้น
  22. ของแบบนี้ไม่ลองไม่รู้ อย่างเช่น ยาดม ซึ่งบางคนถึงขนาดเลิกบุหรี่ได้ด้วยการดมยาดมโป๊ยเซียน !, การอมลูกอม อย่าง ฮอลล์คูล (เม็ดสีฟ้าเย็นสุดขั้ว), แปรงฟันบ่อยๆ เมื่อรู้สึกอยากบุหรี่, ถ้าแปรงฟันไม่ได้ก็ให้ดื่มน้ำเย็นจัด
  23. ชาเลิกบุหรี่ อีกตัวช่วยของคนที่อยากเลิกสูบบุหรี่อย่างจริงจัง เป็นชาชงดื่มที่มีส่วนผสมของหญ้าดอกขาว โปร่งฟ้า เปปเปอร์มิ้นท์ และสมุนไพรอื่นๆ มีสรรพคุณช่วยลดอาการอยากสูบบุหรี่ ทำให้สูบบุหรี่ได้น้อยลงเรื่อยๆ
  24. ชาบัวหิมะเลิกบุหรี่ เป็นใบชาธรรมชาติสายพันธุ์เฉพาะ ซึ่งมีกลิ่นหรือรสชาติคล้ายชา ทำให้ดื่มได้ง่าย ไม่ขม เหมาะกับผู้ติดบุหรี่ที่ต้องการจะเลิก เพราะต้องมีการดื่มตามปริมาณและระยะเวลาที่กำหนด (เห็นว่าตามสูตรคือต้อง 6 วันเท่านั้น ห้ามเกินกว่านี้ เพราะจะทำให้ผู้บำบัดเกิดอาการท้อใจและไม่ดื่มต่อได้) โดยผู้ติดบุหรี่จะต้องไม่ตามใจตนเอง โดยชาที่ดื่มจะช่วยในเรื่องของการขับล้างสารพิษในร่างกาย ช่วยปรับสมดุลของร่างกาย และช่วยสร้างภูมิต่อต้านสารเสพติดทุกชนิด โดยเฉพาะสารนิโคตินในบุหรี่ จากที่สืบราคาดูในเน็ตราคาจะตกกล่องละประมาณ 2,500-3,500 บาท คาดว่าคงใช้ได้ 6 วันพอดี (ภาพ : การเลิกบุหรี่.com)
  25. สมุนไพรเลิกบุหรี่ ใช้หญ้าดอกขาวทั้งต้นประมาณ 2-3 ต้น ใส่น้ำพอท่วมยา ต้มเดือด 10 นาที ใช้กินบ่อยๆ หรือจะใช้ในรูปแบบชาชงในขนาด 3 กรัม วันละ 3 ครั้ง หลังอาหารก็ได้, ใช้ผลจุกโรหินีผสมกับข้าวเย็นเหนือ, ส่วนผักกาดน้ำก็ยังใช้เป็นสมุนไพรเลิกบุหรี่ได้เช่นกัน
  26. หมากฝรั่งเลิกบุหรี่ (Nicotine chewing gum) อันนี้มีราคาค่อนแพงครับ รสชาติค่อนข้างแย่ บางคนถึงขนาดให้ฟรีก็ไม่เคี้ยว 555+ โดยหมากฝรั่งนี้จะช่วยลดอาการอยากสูบบุหรี่ ค่อยๆ เคี้ยวเมื่อพบว่ารสซ่าในปากให้หยุดเคี้ยว และรอให้นิโคตินดูดซึมผ่านทางเยื่อบุช่องปาก จนรสซ่าหายไปก็ให้เคี้ยวต่อ ให้ทำเช่นนี้ประมาณ 30 นาทีต่อเม็ด หลักการคือเป็นการให้สารนิโคตินในระดับต่ำ เพื่อระงับอาการขาดนิโคตินและระงับความอยากบุหรี่ ซึ่งจากสถิติพบว่าวิธีการใช้วิธีการดังกล่าวร่วมกับทำกิจกรรมกลุ่มและพฤติกรรมบำบัดจะช่วยทำให้ประสบความสำเร็จมากยิ่งขึ้น อย่างยี่ห้อที่เป็นที่นิยมจะเป็น นิโคมายด์ (nicomild-2) ราคาแพ็คละประมาณ 300-400 บาท (1 แพ็คมี 6 แผง ใน 1 แผงจะมี 9 เม็ด รวมแล้วมี 54 เม็ด ราคาเฉลี่ยเม็ดละ 6-8 บาท)
  27. แผ่นแปะนิโคติน หรือ แผ่นปิดผิวหนังนิโคติน (Nicotine patch) ใช้สำหรับทดแทนนิโคตินในบุหรี่ เพื่อลดอาการอยากสูบบุหรี่ ใช้โดยการปิดแผ่นยาลงบนผิวหนังบริเวณที่ไม่มีขน เช่น ต้นแขน คอ จนถึงสะโพกที่ปิดแผ่นยาทุกวันโดยติดตลอด 24 ชั่วโมง ราคาประมาณ 300-400 บาท (10 แผ่น)
  28. นิโคตินชนิดสูดทางปาก (Nicotine inhalation) นิโคตินรูปแบบนี้จะใช้ตามใบสั่งแพทย์เท่านั้น ซึ่งประกอบไปด้วย 2 ส่วน ส่วนแรกจะมีลักษณะเป็นกล่องพลาสติกคล้ายกันมวนบุหรี่ใช้สำหรับสูด และอีกส่วนเป็นกระบอกสำหรับบรรจุผงนิโคติน เมื่อรู้สึกอยากบุหรี่ ก็ให้คีบกระบอกพลาสติกที่บรรจุนิโคตินไว้เรียบร้อยแล้วในลักษณะเดียวกับการคีบมวนบุหรี่ เมื่อสูดเข้าไปแล้วนิโคตินจะถูกดูดซึมอยู่แค่บริเวณปากและคอเท่านั้น ไม่ได้ลงลึกไปถึงปอดเหมือนกับการสูบบุหรี่และการดูดซึมเข้าสู่ร่างกายก็จะน้อยกว่า ซึ่งวิธีนี้จะเหมาะกับคนที่มีการติดบุหรี่ทางด้านจิตใจมากกว่า
  29. นิโคตินชนิดสเปรย์พ่นจมูก (Nicotine nasal spray) ผู้ที่พยายามเลิกบุหรี่มาหลายวิธีแล้วแต่ไม่สำเร็จ อาจจะเลิกได้ด้วยวิธีนี้ แต่การใช้ในรูปแบบนี้ควรอยู่ภายใต้การดูแลของบุคลากรทางการแพทย์ นิโคตินรูปแบบนี้อาจไม่เหมือนกับรูปแบบอื่นๆ เนื่องจากนิโคตินจะสามารถดูดซึมและทำให้ระดับนิโคตินในกระแสเลือดใกล้เคียงกับการสูบบุหรี่อย่างรวดเร็ว จึงเป็นเหตุผลที่ว่ามักนิยมใช้ในบุคคลที่มีอาการอยากนิโคตินรุนแรง
  30. ลูกอมเลิกบุหรี่ หรือ ลูกอมนิโคติน (Nicotine lozenge) มีลักษณะคล้ายคลึงกับลูกอมทั่วไป ใช้อมครั้งละ 1 เม็ด (ใช้ไม่เกิน 20 เม็ดต่อวัน) นิโคตินจะค่อยๆ ถูกละลายออกมาอย่างช้าๆ ลูกอมเม็ดหนึ่งจะอยู่ได้ประมาณ 20-30 นาที (ห้ามกัดหรือเคี้ยวระหว่างอม)
  31. นิโคตินชนิดเม็ดอมใต้ลิ้น (Nicotine sublingual tablets) มีลักษณะเป็นเม็ด 1 เม็ด ประกอบไปด้วยนิโคติน 2 มิลลิกรัม วิธีใช้เพียงแค่วางเม็ดอมไว้บริเวณใต้ลิ้น (ห้ามกลืน ดูด หรือเคี้ยวเม็ดยา) จากนั้นนิโคตินจะค่อยๆ ถูกปล่อยออกมาอย่างช้า ซึ่งจะช่วยบรรเทาหรือระงับอาการถอนนิโคตินทำให้เกิดความมานน้อยกว่าการเลิกสูบบุหรี่ด้วยวิธีหักดิบ
  32. บุหรี่ไฟฟ้า (e-cigarette) สำหรับใครหักดิบไม่ไหว การใช้บุหรี่ไฟฟ้าก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งครับ เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยบำบัดความต้องการนิโคตินในผู้ติดบุหรี่ได้ ช่วงที่สูบให้ค่อยๆ ปรับลดนิโคตินลงมาเรื่อยๆ จนสุดท้ายก็สูบแบบน้ำยาไม่มีนิโคติน แล้วก็จะเลิกสูบบุหรี่จริงได้ โดยไม่มีอาการโหยหา แต่บางคนใช้ไปใช้มากลับไปติดบุหรี่ไฟฟ้าแทนก็มีนะครับ ของแบบนี้จะเลิกหรือไม่ผมว่ามันขึ้นอยู่กับใจล้วนๆ ครับ
  33. ยาเลิกบุหรี่ เป็นการใช้กลุ่มยาที่ช่วยลดอาการถอนยา (Reduction of withdrawal) เช่น Bupropion, Nortriptyline, Clonidine, Fluoxitine, Doxepine, Buspirone, Lobeline เป็นต้น ซึ่งจะสามารถลดอาการอยากบุหรี่ได้ อย่างยาที่นิยม ก็ได้แก่ Quomem – โคเมม (1 กล่องมี 60 เม็ด ราคากล่องละประมาณ 1,650 บาท เฉลี่ยตกเม็ดละ 20-30 กว่าบาท) (ภาพ : pantip.com by อุปบารมี)
  34. การรักษาด้วยวิธีวิธีการอื่นๆ (แต่ยังพิสูจน์ผลไม่ได้ในการเลิกบุหรี่) เช่น การฝังเข็ม การสะกดจิต การใช้กระไฟฟ้ากระตุ้น การใช้เลเซอร์บำบัด เป็นต้น
  35. หาที่ปรึกษา นอกจากคุณจะขอคำปรึกษาและกำลังใจจากคนคนรอบข้างแล้ว คุณยังขอคำปรึกษากับคนรู้จักที่สามารถเลิกสูบบุหรี่ได้สำเร็จมาแล้ว คลินิกเลิกบุหรี่ สถานที่เลิกบุหรี่ หรือศูนย์บริการเลิกบุหรี่ทางโทรศัพท์แห่งชาติ (Thailand National Quitline) สายด่วน โทร.1600

สารที่พบในควันบุหรี่



สารพิษที่พบในควันบุหรี่




สารพิษที่พบในควันบุหรี่ ล้วนส่งผลต่อร่างกายอย่างร้ายแรง
  1. นิโคติน มีลักษณะคล้ายน้ำมัน ไม่มีสี เป็นสารที่ทำให้เกิดการเสพติดและทำให้เกิดโรคหัวใจ
  2. ทาร์ ประกอบด้วยสารหลายชนิด เป็นละอองเหลว เหนียว สีน้ำตาลคล้ายน้ำมันดิน สารก่อมะเร็งส่วนใหญ่จะอยู่ในสารทาร์นี้
  3. คาร์บอนมอนอกไซด์ เป็นก๊าซชนิดเดียวกับที่พ่นออกมาจากท่อไอเสียรถยนต์ ก๊าซนี้จะขัดขวางการลำเลียงออกซิเจนของเม็ดเลือดแดง
  4. ไฮโดรเจนไซยาไนด์ เป็นก๊าซที่ทำลายเยื่อบุหลอดลม และถุงลม ทำให้เกิดอาการไอ มีเสมหะ และหลอดลมอักเสบเรื้อรัง
  5. ไนโตรเจนไดออกไซด์ เป็นก๊าซที่ทำลายเยื่อบุหลอดลม และถุงลม ทำให้เป็นโรคถุงลมโป่งพอง
  6. แอมโมเนีย มีฤทธิ์ระคายเคืองเนื้อเยื่อ ทำให้แสบตา แสบจมูก หลอดลมอักเสบ
  7. ไซยาไนด์ เป็นสารพิษที่ใช้เป็นยาเบื่อหนู
  8. สารกัมมันตภาพรังสีโพโลเนียม–210 เป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดโรคมะเร็ง
  9. ฟอร์มาร์ลดีไฮด์ เป็นสารที่ใช้ในการดองศพ

ความเสี่ยงต่อการเป็นโรคของบุหรี่มือ 2




ความเสี่ยงต่อการเป็นโรคของบุหรี่มือ 2




มะเร็งปอดพบมากน้อยแค่ไหน ? 
   
             สถิติทั่วโลกพบว่า มะเร็งปอดเป็นสาเหตุการตายอันดับ 1 จากโรคมะเร็งในผู้ชาย และเป็นสาเหตุการตายอันดับ 2 จากโรคมะเร็งในผู้หญิง สำหรับในประเทศไทย จากสถิติ พ.ศ.2551 พบว่า มะเร็งปอดเป็นสาเหตุการตายอันดับที่ 2 จากโรคมะเร็ง รองจากมะเร็งตับและทางเดินน้ำดีในทั้งเพศชายและเพศหญิง



ทำไมจึงมีอัตราผู้เสียชีวิตสูง ? 
            เนื่องจากเป็นมะเร็งที่พบได้บ่อยเป็นอันดับ 1 ในผู้ชาย แต่ที่สำคัญมากกว่านั้นคือ ผู้ป่วยมะเร็งปอดเกินครึ่งมาพบแพทย์ในระยะที่ผ่าตัดไม่ได้แล้ว หรือในระยะแพร่กระจาย ซึ่งจะมีโอกาสเสียชีวิตสูง ขณะที่ผู้ป่วยมะเร็งปอดที่มาพบแพทย์ในระยะแรกๆ และสามารถผ่าตัดเอาก้อนมะเร็งออกได้ โดยบางรายได้รับยาเคมีบำบัดเสริมหลังผ่าตัด มักจะมีชีวิตยืนยาวกว่าผู้ป่วยในระยะแพร่กระจาย


นั่นแสดงว่าโอกาสรอดจากโรคนี้ค่อนข้างน้อย ?
           ในอดีตคงต้องตอบว่าใช่ แต่ในปัจจุบันประชาชนตื่นตัวกันมาก จากการรณรงค์ไม่ให้สูบบุหรี่ ซึ่งเป็นสาเหตุที่สำคัญของมะเร็งปอด ส่งผลให้อุบัติการณ์ของมะเร็งปอดในเพศชายเริ่มลดลงทั่วโลก แต่อุบัติการณ์ของมะเร็งปอดทั่วโลกในเพศหญิงดูเหมือนจะเพิ่มขึ้น เนื่องจากผู้หญิงมีการสูบบุหรี่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในวัยรุ่นที่มีพฤติกรรมเลียนแบบ อย่างไรก็ดีการเข้าใจถึงพิษของบุหรี่ การคิดถึงโรคมะเร็งปอดเมื่อมีอาการไอเรื้อรัง หรือมีอาการไอเป็นเลือดทำให้ผู้ป่วยมาพบแพทย์เร็วขึ้น บางรายสามารถผ่าตัดได้ร่วมกับการรักษาที่มีการพัฒนามาก เช่น มีการรักษาเสริมหลังการผ่าตัด และการรักษาด้วยยาที่ดีขึ้น ผู้ป่วยมะเร็งปอดจึงมีชีวิตอยู่ได้ยาวนานมากขึ้น

การสูบบุหรี่ถือเป็นปัจจัยเสี่ยงหลักของการเป็นมะเร็งปอด ? 
             มีส่วนมากค่ะ จากสถิติพบว่า ในเพศชายที่เป็นมะเร็งปอดจะเกิดจากการสูบบุหรี่ประมาณร้อยละ 80 และเพศหญิงที่เป็นมะเร็งปอดพบว่าบุหรี่เป็นสาเหตุประมาณร้อยละ 50 โดยจากการศึกษาพบว่า การสูบบุหรี่ 1 ซองต่อวัน เป็นเวลานาน 30 ปี จะเสี่ยงต่อการตายจากมะเร็งปอด 20-60 เท่าในผู้ชาย และ 14-20 เท่าในผู้หญิง เมื่อเปรียบเทียบกับคนที่ไม่สูบบุหรี่ โดยความเสี่ยงจะเพิ่มขึ้นอีก 1 เท่าตัว ถ้าสูบนาน 40 ปี


การได้รับบุหรี่มือสองก็ถือเป็นอีกปัจจัยเสี่ยงของการเป็นมะเร็งปอด ? 
           ในปัจจุบันพบว่า คนที่ไม่สูบบุหรี่ ก็เสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งปอดได้จากควันบุหรี่ในสิ่งแวดล้อม ที่เรียกว่า Environmental Tobacco Smoke (ETS) หรือควันบุหรี่มือสอง หรือ Secondhand Smoke (SHS) นั่นเอง ควันบุหรี่จากสิ่งแวดล้อมหรือจากควันบุหรี่ที่ผู้อื่นสูบมี 2 รูปแบบคือ ควันที่ออกมาจากปลายมวนบุหรี่หรือซิการ์ และควันที่ผู้สูบบุหรี่ โดยมีผลการศึกษาพบว่า ควันบุหรี่จากปลายมวนบุหรี่จะมีสารก่อมะเร็งสูงมากกว่าควันที่ผู้สูบบุหรี่หายใจออกมา

           นอกจากนี้ยังมีการศึกษาพบว่า ควันบุหรี่มือสองมีสารเคมีอยู่มากกว่า 7,000 ชนิด โดยสารเคมีอย่างน้อย 250 ชนิดเป็นอันตรายต่อร่างกาย และอย่างน้อย 69 ชนิดเป็นสารเคมีที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็งได้ เช่น สาร arsenic, benzene, beryllium, โลหะหนัก และฟอร์มาล์ดีไฮด์ เป็นต้น จากการศึกษาพบว่า การได้รับควันบุหรี่มือสองแม้ในระดับต่ำก็ทำให้เกิดอันตรายได้ นอกจากนี้ยังพบความสัมพันธ์ระหว่างควันบุหรี่มือสองกับมะเร็งชนิดอื่นๆ อีก เช่น โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวในเด็ก มะเร็งกล่องเสียงและลำคอ มะเร็งที่สมอง มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งกระเพาะอาหารและมะเร็งเต้านม

          ในประเทศสหรัฐอเมริกาพบว่า คนอเมริกันเสียชีวิตจากมะเร็งปอดอันมีสาเหตุจากบุหรี่มือสองถึง 3,000 รายต่อปี และการอาศัยอยู่ในบ้านเดียวกับผู้สูบบุหรี่มีความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งปอดสูงขึ้นประมาณร้อยละ 20-30 บ้านที่มีผู้สูบบุหรี่อยู่ถือว่าเป็นแหล่งอันตรายมาก เพราะทำให้ผู้อยู่ใกล้ได้รับพิษจากควันบุหรี่มือสอง อย่างเช่นผู้ป่วยมะเร็งปอดผู้หญิงหลายรายของหมอที่มีสามีสูบบุหรี่ แม้บางรายจะบอกว่า เวลาสูบบุหรี่สามีจะออกไปสูบนอกบ้าน หรือบางรายที่สามีสูบบุหรี่ในบ้าน แต่จะไม่สูบในห้องนอน แสดงให้เห็นได้ว่า การได้รับควันบุหรี่มือสองในปริมาณมากบ้างน้อยบ้างก็สามารถทำให้เป็นมะเร็งปอดได้ อย่างเช่นผู้ป่วยรายหนึ่งของหมอที่ทำงานเป็นแคชเชียร์ในสถานบันเทิงที่มีคนสูบบุหรี่หนาแน่นมากเป็นเวลานานถึง 10 ปี และสุดท้ายเธอก็เป็นมะเร็งเต้านม


ถ้ามีคนรอบข้างที่สูบบุหรี่ เราควรจะสื่อสารกับเขาอย่างไร ? 
            ควรบอกถึงผลเสียของการสูบบุหรี่ว่า ทำให้เกิดโรคร้ายจำนวนมาก โดยเฉพาะโรคมะเร็งปอด และนอกจากจะทำให้ผู้สูบป่วยแล้ว ควันบุหรี่ยังมีผลต่อคนรอบข้าง เช่น ภรรยา และบุตร โดยเฉพาะเด็กๆ ซึ่งจะทำให้เกิดโรคระบบทางเดินหายใจได้ และหากได้รับควันบุหรี่มือสองนานๆ อาจรุนแรงจนเกิดมะเร็งปอดในอนาคต ดังนั้นเราจึงควรให้กำลังใจกับคนรอบข้างให้หยุดสูบบุหรี่ ถึงแม้จะยาก แต่ก็ทำได้ถ้าตั้งใจทำเพื่อคนที่คุณรัก และเพื่อให้คนในครอบครัวปลอดจากโรคมะเร็งปอดและโรคอื่นๆ



ดังนั้นมาร่วมกันรณรงค์ให้ประเทศไทย


เป็นประเทศปลอดควันบุหรี่กัน


เสียทีดีกว่าค่ะ ^^

วิธีการป้องกันบุหรี่มือสอง




วิธีการป้องกันบุหรี่มือสอง








 วิธีป้องกันสูบบุหรี่มือสองที่บ้าน



     • ให้สมาชิกที่สูบบุหรี่ให้ไปสูบบุหรี่นอกบ้านโดยปรึกษากันถึงผลเสียที่จะเกิดกับเด็ก 
     
     • ถ้าผู้สูบไม่ยอมออกนอกบ้านให้หาห้องที่ถ่ายเทอากาศดีให้เขาสูบ 
     
     • ให้เปิดหน้าต่างเพื่อให้อากาศถ่ายเท 
   
     • สนับสนุนให้เลิกบุหรี่ 
    
     • ถ้าแขกที่มาเยี่ยมสูบบุหรี่บอกเขาว่าบ้านนี้ปลอดบุหรี่ และอย่ามีจานเขี่ยบุหรี่ไว้ในบ้าน 



วิธีป้องกันสูบบุหรี่มือสองที่ทำงาน


    

  • ให้นายจ้างประกาศนโยบายสถานที่ปลอดบุหรี่
     

  • ให้จัดที่ทำงานสำหรับผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ และให้ห่างไกลจากผู้ที่สูบบุหรี่
   

  • บอกผู้ที่สูบบุหรี่ให้ไปสูบไกลๆคุณ
   

  • ใช้พัดลมหรือเปิดหน้าต่างเพื่อให้อากาศถ่ายเท
  

   • ติดป้าย"ขอบคุณที่กรุณาไม่สูบบุหรี่"ไว้ที่ทำงาน




วิธีป้องกันสูบบุหรี่มือสองในที่สาธารณะ



     • เลือกสถานที่ปลอดบุหรี่ เช่นโรงแรม ร้านอาหาร หรือรถเช่าที่ปลอดบุหรี่ 
     
     • หากมีผู้ที่สูบบุหรี่ในสถานที่ห้ามสูบให้แจ้งเจ้าหน้าให้จัดการ 
   
     • ไม่พาเด็กไปในที่ๆมีการสูบบุหรี่