วันอาทิตย์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

การดูแลรักษาไม้ดอกไม้ประดับ



           การให้น้ำ การให้น้ำแก่ไม้ประดับมีความสำคัญต่อการเจริญเติบโต เพราะการให้น้ำมาก/น้อยเกินไป หรือให้น้ำไม่ถูกวิธีทำให้เกิดปัญหากับพืชได้ ดังนั้นการให้น้ำเวลาใดต้องคำนึงถึงความสะดวกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องหลายประการ เช่น ดินปลูก ความชื้นในดิน ฤดูกาล ชนิดพืช ความเข้มแสง อุณหภูมิ ฯลฯ การให้น้ำที่พอดีจะทำให้พืชมีอายุยืนยาว เจริญเติบโตเร็วและสวยงาม2) การให้ปุ๋ย การให้ปุ๋ยควรพิจารณาความอุดมสมบูรณ์ของวัสดุปลูกเป็นหลัก วัสดุปลูกที่มีความอุดมสมบูรณ์น้อยมีความจำเป็นที่จะต้องใส่ปุ๋ยเพิ่มให้เพียงพอต่อความต้องการของพืช ควรเน้นการให้พวกอินทรียวัตถุ เช่น ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก หรืออาจให้ปุ๋ยเคมีบ้างเพื่อปรับสภาพในแต่ละช่วงแต่ละฤดูกาล เช่น ฤดูร้อนจะให้ปุ๋ยในโตรเจนสูง ฟอสฟอรัสต่ำ และโปรแตสเซียมสูงเล็กน้อย ฤดูฝนจะให้ปุ๋ยไนโตรเจนต่ำ ฟอสฟอรัสและโปแตสเซียมสูง ส่วนฤดูหนาวก็จะให้ปุ๋ยไนโตรเจนสูงมากๆ เพื่อกระตุ้นให้พืชตอบสนองต่อการเจริญเติบโต3) การตัดแต่ง ไม้ประดับหลังจากปลูกไปนานๆ จำเป็นต้องมีการตัดแต่งกิ่งออกไปบ้างโดยใช้กรรไกรตัดแต่ง หรือมีดคมๆ เพื่อรักษาทรงพุ่มให้สวยงามยิ่งขึ้น บางครั้งอาจมีกิ่งหักเสียหาย กิ่งมีโรคและแมลงเข้าทำลายหรือกิ่งแห้งเหี่ยวก็ควรตัดออก นอกจากต้นไม้จะดูสวยงามขึ้นแล้วยังเป็นการรักษาสุขภาพของต้นไม้ให้ดีขึ้นด้วย4) การเปลี่ยนถ่ายกระถาง ไม้ประดับที่ปลูกลงกระถางเมื่อปลูกเลี้ยงจนโตเต็มที่ควรมีการเปลี่ยนกระถางที่มีขนาดใหญ่ขึ้น หรือเปลี่ยนดินใหม่ที่มีธาตุอาหารสมบูรณ์กว่าเดิมเพื่อไม่ให้พืชชะงักการเจริญเติบโต โดยการเปลี่ยนกระถางไม้ประดับมีขั้นตอน ดังนี้ 1) เลือกกระถางใหม่ตามขนาดที่ต้องการมาล้างทำความสะอาด 2) เตรียมวัสดุปลูกเพื่อใส่ในกระถาง 3) นำต้นพืชออกจากกระถางเก่าและแซะดินเก่าออกประมาณครึ่งหนึ่ง 4) นำต้นพืชลงปลูกในกระถางใหม่ที่ใส่วัสดุปลูกรองพื้นไว้ และเติมวัสดุปลูกลงไปให้เกือบถึงขอบกระถาง กดวัสดุปลูกให้แน่นแล้วรดน้ำให้ชุ่ม



การปลุกไม้ดอกไม้ประดับ

เมื่อ      เอ่ยถึงไม้ดอกไม้ประดับ ทางผู้เขียนเชื่อว่าทุกบ้านจะต้องปลูกไม้ประดับเหล่านี้ไว้ในบ้านหรือบริเวณบ้านเพื่อประตกแต่งบ้านให้ดูสวยงาม สดชื่น มีชีวิตชีวา   ซึ่งการนำพรรณไม้บางชนิดมาปลูกลงในกระถาง หรือภาชนะสวยงาม จุดประสงค์เพื่อใช้เป็นไม้ประดับ ตกแต่งอาคารสถานที่ที่มีพื้นที่จำกัด และสามารถเคลื่อนย้ายไปประดับในสถานที่ต่างๆ ได้ง่าย สะดวกในการดูแลรักษา และโยกย้ายสับเปลี่ยนพรรณไม้ได้ตามความพอใจ ในปัจจุบันไม้ประดับเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย
ดิและเครื่องปลูก  ก็เป็นปัจจัยสำคัญในการปลูกพืชทุกชนิด เราจะต้องทำดิน ให้สมบูรณ์ หรือเรียกง่าย ๆว่า การทำดินให้มีชีวิต”  ดินเมื่อเปรียบเทียบกับอาหารของคนเรา  ดินจัดได้ว่าเป็นอาหารหมู่ที่ 1ก็คือโปรตีน คนเราถ้าขาดโปรตีน ก็จะทำให้ร่างกายไม่สามารถดึงสารอาหารที่เป็นประโยชน์ ไปเลื้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้ ทำให้ร่างกายขาดสารอาหาร  แคระแกร่ง  ไม่เจริญเติบโต  ก็เช่นเดียวกันกับต้นไม้ ในธรรมชาตินั้น ต้นไม้เจริญเติบโตหรือขึ้นได้ในพื้นที่ที่มีความเหมาะสมของพรรณพืชแต่ละชนิด แต่การปลูกเลี้ยงไม้ดอกไม้ประดับเป็นการกำหนดให้ต้นไม้ต้องอยู่ในที่ที่จำกัดในภาชนะปลูก ดินหรือเครื่องปลูกจึงมีความจำเป็นต้องมีคุณสมบัติในการยึดลำต้น การอุ้มน้ำ การถ่ายเทอากาศ และง่ายในการที่รากจะไชชอนได้สะดวก การปลูกพืชในกระถาง รากพืชจะถูกจำกัดขอบเขตอยู่เฉพาะภายในกระถางเท่านั้น   ดังนั้นเพื่อให้พืชเจริญเติบโตตามความประสงค์ของผู้ปลูกเลี้ยง ดินหรือวัสดุปลูกควรมีความอุดมสมบูรณ์ มีคุณภาพดี ซึ่ง
คุณสมบัติโดยทั่วไปดังนี้
1.             ดินร่วนโปร่ง น้ำหนักเบา ระบายน้ำได้ดี ถ่ายเทอากาศได้ทั่วถึง ดูดซับน้ำได้ดี
2.             มีธาตุอาหาร หรือปุ๋ยที่พืชต้องการอย่างสมบูรณ์
3.             ไม่มีความเป็นกรด เป็นด่างมากเกินไป
4.             มีความแน่นพอที่จะยึดให้ลำต้นทรงตัวอยู่ได้
5.             ไม่มีสารเคมีที่เป็นพิษต่อรากพืช
เนื่องจากดินปลูกไม้ดอกไม้ประดับอยู่ในพื้นที่ที่จำกัด ดินปลูกจึงควรมีลักษณะร่วนโปร่ง อุ้มน้ำ หรือเก็บความชื้นได้ดี สามารถระบายน้ำ และถ่ายเทอากาศได้ดี ดินทั่วไปมีคุณสมบัติทางเคมี และทางกายภาพที่แตกต่างกันไป เพื่อให้เหมาะสมเป็นเครื่องปลูกไม้ดอกไม้ประดับจึงต้องมีการปรับปรุงคุณภาพโดยมีวัสดุอื่นๆ เป็นส่วนผสมดังนี้
1.             อินทรีวัตถุ ประกอบด้วย เศษซากใบไม้ผุ เปลือกไม้แห้ง แกลบ ขุยมะพร้าว กาบมะพร้าวสับ ฟางข้าว และเปลือกถั่ว เป็นต้น
2.             ปุ๋ยคอก ประกอบด้วย ขี้วัว ขี้ควาย ขี้หมู ขี้ไก่ และขี้ค้างคาว เป็นต้น
3.             ทราย อิฐป่น และถ่านป่น
วัสดุดังกล่าวเมื่อนำมาผสมกับดินธรรมชาติแล้ว จะมีคุณสมบัติร่วน โปร่ง มีน้ำหนักเบา อินทรีวัตถุ นอกจากจะช่วยปรับสภาพเนื้อดินให้ดีขึ้นแล้ว ยังพบว่ามีธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อการเจริญเติบโตของไม้ดอกไม้ประดับ คือเป็นปุ๋ยโดยตรง  ส่วนเรื่องความเป็นกรด เป็นด่าง (pH) ที่เหมาะสมกับไม้ดอกประดับต่างๆ ดังนี้ ไม้ใบกระถางควรมีค่า pH ระหว่าง 5.5–7.5 ไม้ดอกกระถางควรมีค่า pH ระหว่าง                     5.5–6.0          ช่วงความเป็นกรด เป็นด่าง หรือ pH ของดินปลูกระหว่าง 5.5–6.0 ถือเป็นช่วงที่เหมาะสมสำหรับไม้กระถาง และไม้ดอกกระถางอายุยืน 
คุณสิทธพล  กลัดทิม  บ้านเลขที่ 92/3-5 ซอย สวนผัก 7   แขวงตลิ่งชัน  เขตตลิ่งชัน  กรุงเทพ มหานคร  10170         สมาชิกชมรมเลขที่ 10006473  เป็นหนุ่มเกษตรกร ที่มีอาชีพ ปลูกไม้ดอกไม้ประดับขายส่งตามร้านค้าที่ขายต้นไม้ริมถนนกาญจนภิเษก (ตลิ่งชัน สุพรรณบุรี)  พี่สิทธิพลได้ศึกษาวิธีการปลูกไม้ดอก ไม้ประดับ อย่างปลอดสารพิษมานานแล้ว  และก็รู้ด้วยว่าภูไมท์ หรือ ภูไมท์ซัลเฟต  มีประโยชน์กับต้นพืชมาก  ทั้งช่วยในเรื่องของการลดเพลี้ย หนอน ไร รา  เพราะภูไมท์จะปลดปล่อย ซิลิก้าที่ละลายน้ำได้  นำไปสร้างผนังเซลล์พืชทุกชนิด  ให้แข็งแรงยากต่อการเข้าทำลายของศัตรูพืช และยังทำให้ช่วยลดค่าใช้จ่ายที่จะซื้อ สารกำจัดศัตรูพืชอีกด้วย  แต่ไม่รู้จะซื้อที่ไหน  จนมาได้พบชมรมเกษตรปลอดสารพิษ  พี่สิทธิพล จึงได้ซื้อ ได้ซื้อภูไมท์  ไปคลุกผสมกับดินก่อนปลูก  โดยมีอัตราส่วนดังนี้
1.ดินร่วน (ดินสีดา)            1  ส่วน
2.ดินใบก้ามปู                       1  ส่วน
3.กาบมะพร้าวสับ               1 ส่วน
4. แกลบ                                1 ส่วน
5. ภูไมท์                                1 ส่วน
คลุกให้เข้ากันแล้วนำไปปลูกกับไม้ดอก ไม้ประดับ  พี่สิทธิพล บอกว่าหลังจากที่ใช้ภูไมท์แล้วรู้สึกว่า ใบพืชเขียวดี  รากออกเยอะ หนอน เพลี้ย ไร รา  พวกแมลงปากดูดน้ำเลี้ยง ก็ไม่ค่อยมารบกวน  ผลตอบรับที่ได้น่าพอใจมาก พี่สิทธิพลได้ใช้ผลิตภัณฑ์ของทางชมรมหลายตัว คราวหน้าผู้เขียนจะมาแนะนำวิธีการกำจัดเชื้อรา ในไม้ดอก ไม้ประดับ  ค่ะ
เขียนและรายงานโดย นางสาวเพชรรัตน์  มีมา (ตำแหน่งนักวิชาการ 089-444-2366)
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ  www.thaigreenagro.com


กา

วันเสาร์ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

ชนิดของไม้ประดับ

        1. ไม้ดอก  หมายถึง  พืชที่ปลูกขึ้นเพื่อใช้ประโยชน์จากดอก  พืชชนิดนี้มีลักษณะดอกสวยงาม  มีทั้งไม้ยืนต้นขนาดใหญ่  ไม้พุ่ม  และไม้ล้มลุก  บางชนิดมีดอกสวยงามติดต้นนิยมปลูกประดับตกแต่งอาคารสถานที่  เรียกว่า ไม้ดอก เช่น ลั่นทม ยี่โถ ยี่เข่ง เข็ม ชวนชม ดาวกระจาย บานชื่น พุทธรักษา โป๊ยเซียน เป็นต้น บางชนิดปลูกเพื่อตัดดอกนำไปใช้ประโยชน์โดยตรง เรียกว่า ไม้ตัดดอก เช่น กุหลาบ ดาวเรือง หน้าวัว เบญจมาศ ซ่อนกลิ่น ขิงแดง กล้วยไม้ เป็นต้น

2. ไม้กลางแจ้ง
-ปาล์ม ไม้ประดับประเภท ปาล์มเป็นพืชที่มีอยู่ในโลกมานานกว่า 80 ล้านปี ส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กระจัดกระจายในเขตร้อนของโลกรวมทั้งประเทศไทย ปาล์มมีอยู่ทั่วโลกเกือบ 4,000 ชนิด มีไม่กี่ชนิดขึ้นอยู่ในเขตอบอุ่น ทุก ๆ ปี จะพบปาล์มชนิดใหม่ ๆ 1-2 ชนิดอยู่เสมอ และมีการกลายพันธุ์ตามธรรมชาติด้วย ปาล์มเป็นพืชที่มีวงศ์ใหญ่ที่สุด(รองจากหญ้า) ทั้งจำนวน ชนิด ละปริมาณ ปัจจุบันพบในหลายพื้นที่ทั่วโลก สามารถเจริญเติบโตได้ในสภาพภูมิอากาศที่หลากหลาย จำแนกได้กว่า 210 สกุล ปาล์มจัดเป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว ไม่แตกกิ่งก้านสาขา ก้านใบยาวและใหญ่ ลักษณะใบแตกต่างกัน ลำต้นเป็นข้อ ดอกหรือจั่นขนาดเล็กและแข็งแรงไม่มีกลิ่นหอม ผลโดยมากมีเปลือกแข็ง มีขนาดตั้งแต่เล็กไปจนถึงใหญ่ ปัจจุบันคนไทยให้ความสนใจปลูกปาล์มเป็นไม้ประดับมากขึ้น รวมทั้งมีการนำพันธุ์ปาล์มจากต่างประเทศเข้ามาขยายพันธุ์มากขึ้น ซึ่งปาล์มแต่ละชนิดมีลักษณะที่เด่นและสวยงามแตกต่างกัน เช่น ปาล์มพันธุ์อ้ายหมี พันธุ์เชอรี่ และพันธุ์คาร์พ็อกซีลอน ปาล์มเคราฤๅษี ปาล์มช้างร้องไห้ ปาล์มบังสูรย์ ปาล์มเจ้าเมืองถลาง ปาล์มพระราหู ปาล์มเจ้าเมืองตรัง ปาล์มศรีสยาม เป็นต้น




-ปรง ปรงถูกกล่าวถึงว่าเป็นพืชโบราณที่ยังหลงเหลืออยู่ มีเมล็ดแต่ไม่มีดอก ปรงส่วนใหญ่อยู่ในตระกูล Cycadaceae เป็นพืชเมล็ดเปลือย(gymnosperm) ตระกูลปรงจัดอยู่ในอันดับ Cycadales ร่วมวงศ์กับ Zamiaceae ตระกูลปรงมีประมาณ 10 สกุล ในประเทศไทยพบเฉพาะสกุล Cycas ซึ่งมีอยู่ประมาณ 100 ชนิด มีการกระจายพันธุ์ในเอเชีย ออสเตรเลีย และมหาสมุทรแปซิฟิก ทางตะวันตกเฉียงใต้แถบหมู่เกาะนิวคาเลโดเนียและตองก้า ‘‘ลักษณะเด่น’’ มีใบประกอบแบบขนนกเรียงหนาแน่นเป็นเรือนยอด แยกเพศต่างต้น พืชตระกูลปรงมีลักษณะคล้ายพืชตระกูลปาล์ม มีลำต้นเหนือพื้นดิน ใบแฉกแบบขนนก เรียงเวียนสลับใบย่อยด้านล่าง มีกลดลูกเป็นหนามแหลม ใบย่อยรูปแถบหนามีจำนวนมาก เส้นกลางใบนูนเด่นชัด ไม่มีเส้นแขนงใบ มีเกล็ดหุ้มยอด ใบสร้างอับไมโครสปอร์โคนเพศผู้มีจำนวนมาก รูปลิ่มปลายแหลมคล้ายหนาม เรียงเวียนเป็นรูปโคน ตั้งขึ้นที่ยอดลำต้น เรียกว่า male cone หรือ pollen cone ใบสร้างอัเมกาสปอร์โคนเพศเมียเรียงเป็นกลุ่มคล้ายใบกระจุกแบบกุหลาบซ้อน แต่ละสปอร์โรฟิลล์มีก้านปลายเป็นแฉกแบบขนน กรองรับโอวุล เมล็ดทรงกลมหรือรี ผิวส่วนมากเรียบ ขนาดค่อนข้างใหญ่ มีเนื้อสดหนา ด้านนอกด้านในแข็งเป็นเนื้อไม้ มีใบเลี้ยง 2 ใบ ปรงในประเทศไทยมีอยู่ 12 ชนิด ได้แก่ ปรงญี่ปุ่น ปรงป่า ปรงเขา ปรงเขาชะเมา ปรงตากฟ้า ปรงทะเล ปรงเท้าช้าง ปรงเหลี่ยม ปรงผา ปรงหิน ปรงปราณบุรี ปรงเดอบาวเอนซิ



 

3.  ไม้ในร่ม เป็นพันธุ์ไม้ที่ปลูกในโรงเรือนหรือในร่ม มีทั้ง ไม้ยืนต้นเช่น หมากแดง หนวดปลาหมึก ปาล์มหลายชนิด เป็นต้น ประเภท ไม้พุ่มเช่น กวนอิม ขิงแดง คล้า จั๋ง วาสนา สาวน้อยประแป้ง หมากผู้หมากเมีย เอื้องหมายนา อโกลนีมา เป็นต้น ประเภท ไม้คลุมดินเช่น เฟิร์น กำแพงเงิน สับปะรดประดับ เป็นต้น และประเภท ไม้เลื้อยเช่น พลูด่าง ฟิโลเดนดรอน โฮย่า เป็นต้น โดยพันธุ์ไม้เหล่านี้สามารถอาศัยอยู่ในสภาพร่มเงาได้ดี

 

4. พันธุ์ไม้หอม พันธ์ไม้หอมมีความสำคัญทางศิลปวัฒนธรรมของไทยที่บ่งบอกถึงความเป็นชาติที่มีอารยธรรมอันยาวนาน ซึ่งปรากฏในวรรณคดีไทยหลายยุคหลายสมัย มีการนำพรรณไม้หอมมาปลูกเลี้ยงกันตั้งแต่สมัยสุโขทัยเรื่อยมาจนถึงกรุงรัตนโกสินทร์ แรกเริ่มสมัยสุโขทัยส่วนใหญ่เป็นไม้ต้นที่คัดเลือกมาจากป่า เป็นไม้ไทยพื้นเมือง เช่น จำปี พุด ลำดวน สารภี บุนนาค มะลิ เมื่อนำมาปลูกเลี้ยงก็สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพถิ่นที่อยู่ใหม่ได้ดี ในช่วงปลายสมัยกรุงศรีอยุธยาเริ่มมีการนำพันธุ์ไม้หอมจากต่างประเทศเข้ามาปลูกในประเทศไทย ดังปรากฏในหลักฐานทางวรรณคดีที่กล่าวถึงไม้หอมต่าง ๆ ได้แก่ การเวก กระดังงา กุหลาบมอญ ส้มโอ พุทธชาด พุดซ้อน สายหยุด พิกุล เป็นต้น ต่อมาความนิยมได้เพิ่มมากขึ้น จึงมีการนำเข้าพรรณไม้จากต่างประเทศโดยเฉพาะสมัยรัตนโกสินทร์และจนถึงทุกวันนี้ ทำให้ลักษณะของไม้หอมมีหลากหลายชนิดและหลากหลายสกุล มีทั้งที่เป็นไม้พื้นเมืองหรือกระจายพันธุ์มาจากประเทศใกล้เคียง เช่น ไม้หอมวงศ์กระดังงา ไม้หอมวงศ์โมก วงศ์จำปา วงศ์มะลิ วงศ์เข็ม พันธุ์ไม้หอมที่เกี่ยวกับพระนามของพระบรมวงศานุวงศ์ของประเทศไทย ได้แก่ กุหลาบควีนสิริกิต์ โมกราชินี จำปีสิรินธร








 

ไม้ดอกไม้ประดับ


ไม้ประดับ 

หมายถึง พืชที่ปลูกไว้เพื่อความสวยงาม ใช้ประดับตกแต่งอาคารบ้านเรือนให้เกิดความเจริญตา ส่วนใหญ่ไม้ประดับมักเป็นพืชดอก จึงเรียกรวมกันว่า ไม้ดอกไม้ประดับ ซึ่งความเป็นจริงแล้วไม้ประดับไม่จำเป็นต้องมีดอกก็ได้ เพียงมีใบที่ดูดีหรือมีสีสันสวยงามก็ใช้ได้ ไม้ประดับมีขนาดเล็กหรือขนาดย่อมพอเหมาะแก่พื้นที่จัดตกแต่ง อาจปลูกไว้ในกระถาง ปลูกลงดิน หรือแขวนห้อยไว้ก็ได้ ไม้ประดับมีหลายชนิด 


เทคนิคการใช้คอมพิวเตอร์

30 เทคนิคการใช้คอมพิวเตอร์

  • ในขณะที่คุณกำลังจะ Restart เครื่องใหม่ ก่อนที่จะกดปุ่ม OK ให้คุณกด Shift ค้างไว้ จะทำให้คุณ Restart ได้เร็วขึ้น

  • ในบาง Web Site หากคุณกด Ctrl ค้างไว้ และเลื่อน Scroll ที่ Mouse จะทำให้ตัวอักษรของ Web Site นั้นใหญ่ขึ้น

  • หากกดปุ่ม Refresh หรือ F5 แล้วยังเป็นข้อมูลเดิม ลองกด Ctrl + F5 รับรองจะได้ข้อมูลที่ใหม่ล่าสุดแน่ๆ

  • คุณสามารถเปิดไฟล์ Tips.txt ขึ้นมาเพื่ออ่านเทคนิคต่างๆ ได้ ซึ่งไฟล์นี้จะอยู่ใน c:\windows ของคุณ

  • ในระหว่างที่คุณกำหลังใช้งาน IE อยู่นั้น สามารถกดปุ่ม F4 เพื่อเป็นการเปิดดู URL List ในช่อง Address ได้เลย

  • การกดปุ่ม Esc ระหว่างการใช้ IE จะทำให้ IE ของคุณนั้นหยุดโหลดได้ โดยที่ไม่ต้องกดปุ่ม Stop

  • ระหว่างการใช้ IE สามารถกดปุ่ม Alt + D หรือ Ctrl + Tab เพื่อเข้า Address bar อย่างเร็วได้

  • คุณสามารถเพิ่มความเร็วให้กับ Internet ได้โดยทำการถอดสายเครื่องโทรศัพท์ ที่มีการต่อพ่วงอยู่กับสายที่ใช้ต่อ Internet ออก

  • คุณสามารถ ไปที่ Start -> Run และพิมพ์ว่า welcome กด Enter เพื่อเปิดหน้าต่างต้อนรับของ Windows ได้

  • ที่ Notepad หรือ ICQ หากคุณลืมเปลี่ยน Mode ภาษา ให้กดปุ่ม Ctrl + Back Space เพื่อแก้คำที่พิมพ์ผิดไปแล้ว

  • คุณสามารถ เปิด Folder Desktop อย่างรวดเร็ว โดย Start -> Run พิมพ์จุด (.) ลงไปแล้วกด Enter

  • ใน IE สามารถกด Space Bar เพื่อนเลื่อนหน้า Page ลงได้ ส่วนเลื่อนขึ้นคือ Shift + Space Bar

  • ใน Windows คุณไม่สามารถ สร้าง Folder ที่ชื่อ "con" ได้

  • ใน IE ที่ช่อง Address ปุ่ม Ctrl+Enter สามารถช่วยคุณพิมพ์ URL ได้เร็วยิ่งขึ้น

  • การกด Ctrl ค้างเอาไว้ ตอนเวลา BOOT เครื่อง จะทำให้คุณไม่พลาด Startup Menu

  • คุณสามารถปิดนาฬิกาที่ Taskbar ได้ โดยคลิกขวาที่ Task bar > Properties > เอาเครื่องหมาย Show Click ออก

  • หากคุณกด F11 ใน Windows Explorer จะช่วยให้มีการทำงานที่สะดวกขึ้น

  • ใน ICQ การส่ง Message หากคุณกด Ctrl+Enter จะสะดวก กว่าการ Click Mouse ที่ปุ่ม send

  • คุณสามารถกด F2 เพื่อ ใช้ในการเปลี่ยนชื่อ Icon ต่างๆ ได้

  • การกด F5 ใน NotePad จะเป็นการแทรก เวลา และวันที่ ปัจจุบัน

  • การกด Windows + E จะเป็นเปิด Windows Explorer ขึ้นมา

  • เปิด System Properties อย่างรวดเร็วคือการกด Window + Pause Break

  • การย่อยทุกๆ หน้าต่างที่เปิดใช้งาน ให้ยุบไปให้หมด คือการกด Window + D ถ้าจะขยายคืนมาอีก ให้กดซ้ำ

  • การเคาะวรรคในโปรแกรม Dreamweaver คือ Shift + Ctrl + Space Bar ส่วนการเว้นบรรทัดคือ Shift + Enter

  • การลบไฟล์แบบ ไม่เก็บไว้ใน Recycle Bin คือการกด Shift + Delete

  • การกด Shift ค้างไว้ เวลาใส่แผ่น CD-Rom จะเป็นการไม่ให้มันเปิด Autorun ของแผ่น CD-Rom นั้นขึ้นมา

  • การ Restart เครื่องอย่างเร็ว คือไปที่ Start -> Shut Down... -> Restart จากนั้น ก่อนที่จะ OK ให้กด Shift ค้างเอาไว้

  • ในระหว่างใช้ Browser คุณสามารถกดปุ่ม Space Bar เพื่อเลื่อนหน้าลง และ Shift + Space Bar เพื่อนเลื่อนหน้าขึ้นได้

  • กด Shift + คลิก จะเป็นการเปิดหน้าต่างขึ้นมาใหม่ โดยไม่ต้อง back กลับ

  • คุณสามารถ ไปที่ Start -> Run และพิมพ์ว่า hwinfo /ui กด Enter เพื่อดูรายงานต่างๆ ของ HardWare

ประโยชน์และโทษของคอมพิวเตอร์

ประโยชน์ และ โทษ ของคอมพิวเตอร์

ประโยชน์จากการใช้งานคอมพิวเตอร์

·    ด้านการศีกษา : สร้างสื่อการเรียนการสอนได้หลายรูปแบบ ค้นหาข้อมูลผ่านเครือข่าย

อินเทอร์เน็ตได้ ศึกษาบทเรียนด้านความบันเทิง : สามารถใช้คอมพิวเตอร์เพื่อความบันเทิงได้ เช่น เล่นเกมส์ ดูภาพยนตร์ ร้องเพลง ฟังเพลง เป็นต้น

·  ด้านติดต่อสื่อสาร : สามารถใช้คอมพิวเตอร์ รับ-ส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ได้ และยังสามารถสนทนาผ่านระบบอินเทอร์เน็ตได้

· ด้านการออกแบบและสร้างงานศิลปะ : สามารถนำคอมพิวเตอร์ มาช่วยในเรื่องการออกแบบงาน สร้างงานกราฟิกได้

· ด้านการพิมพ์เอกสาร : สามารถนำคอมพิวเตอร์ มาสร้างงานด้านงานเอกสารสิ่งพิมพ์ต่างๆ หรือนำเสนองานเป็นรูปเล่มได้


 โทษจากการใช้งานคอมพิวเตอร์

·เสียสุขภาพ : การใช้คอมพิวเตอร์ติดต่อกันเป็นเวลานานจะทำให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพได้ เช่น สายตาพร่ามัว ปวดเมื่อยตามร่างกาย เป็นต้น

·ความสัมพันธ์กับคนรอบข้างลดลง : ความสัมพันธ์กับคนในครอบครัวและคนรอบข้างลดน้อยลง เพราะเวลาส่วนใหญ่จะถูกใช้ไปกับการอยู่ที่หน้าจอคอมพิวเตอร์ ทำให้ขาดสังคมได้

· เกิดปัญหาสังคม : ทำให้เกิดปัญหาสังคม เช่นการล่อลวงเพื่อทำการมิดีมิร้าย ซึ่งส่วนใหญ่เกิดขึ้นกับวัยของนักเรียน เพราะเป็นวัยที่ไว้ใจคนง่าย จึงเป็นช่องทางให้มิจฉาชีพปฏิบัติในสิ่งที่ไม่ดี

·เกิดการเลียนแบบพฤติกรรมที่ไม่ดี : เพราะสื่อที่เห็นทางอินเทอร์เน็ตทำให้เกิดการเลียนแบบพฤติกรรมต่างๆ ที่ไม่เหมาะสม เช่น การแสดงออกกับเพศตรงข้ามอย่างไม่เหมาะสม หรือ แม้กระทั่งการตั้งแก๊งก่อเหตุต่างๆ เป็นต้น

 ที่มา http://home.kku.ac.th/samnat/computer_system_02.html 

เครือข่ายคอมพิวเตอร์

เทคโนโลยีแบบใช้สาย
เทคโนโลยีแบบใช้สายต่อไปนี้เรียงลำดับตามความเร็วจากช้าไปเร็วอย่างหยาบๆ
สายคู่บิด เป็นสื่อที่ใช้กันอย่างแพร่หลายที่สุดสำหรับการสื่อสารโทรคมนาคมทั้งหมด สายคู่บิดประกอบด้วยกลุ่มของสายทองแดงหุ้มฉนวนที่มีการบิดเป็นคู่ๆ สายโทรศัพท์ธรรมดาที่ใช้ภายในบ้านทั่วไปประกอบด้วยสายทองแดงหุ้มฉนวนเพียงสองสายบิดเป็นคู่ สายเคเบิลเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (แบบใช้สายอีเธอร์เน็ตตามที่กำหนดโดยมาตรฐาน IEEE 802.3) จะเป็นสายคู่บิดจำนวน 4 คู่สายทองแดงที่สามารถใช้สำหรับการส่งทั้งเสียงและข้อมูล การใช้สายไฟสองเส้นบิดเป็นเกลียวจะช่วยลด crosstalk และการเหนี่ยวนำแม่เหล็กไฟฟ้าระหว่างสายภายในเคเบิลชุดเดียวกัน ความเร็วในการส่งอยู่ในช่วง 2 ล้านบิตต่อวินาทีถึง 10 พันล้านบิตต่อวินาที สายคู่บิดมาในสองรูปแบบคือคู่บิดไม่มีต้วนำป้องกัน(การรบกวนจากการเหนี่ยวนำแม่เหล็กไฟฟ้าภายนอก) (unshielded twisted pair หรือ UTP) และคู่บิดมีตัวนำป้องกัน (shielded twisted pair หรือ STP) แต่ละรูปแบบออกแบบมาหลายอัตราความเร็วในการใช้งานในสถานการณ์ต่างกัน
สายโคแอคเชียล ถูกใช้อย่างแพร่หลายสำหรับระบบเคเบิลทีวี, ในอาคารสำนักงานและสถานที่ทำงานอื่นๆ ในเครือข่ายท้องถิ่น สายโคแอคประกอบด้วยลวดทองแดงหรืออะลูมิเนียมเส้นเดี่ยวที่ล้อมรอบด้วยชั้นฉนวน (โดยปกติจะเป็นวัสดุที่มีความยืดหยุ่นกับไดอิเล็กทริกคงที่สูง) และล้อมรอบทั้งหมดด้วยตัวนำอีกชั้นหนึ่งเพื่อป้องกันการเหนี่ยวนำแม่เหล็กไฟฟ้าจากภายนอก ฉนวนไดอิเล็กทริกจะช่วยลดสัญญาณรบกวนและความผิดเพี้ยน ความเร็วในการส่งข้อมูลอยู่ในช่วง 200 ล้านบิตต่อวินาทีจนถึงมากกว่า 500 ล้านบิตต่อวินาที
ใยแก้วนำแสง เป็นแก้วไฟเบอร์ จะใช้พัลส์ของแสงในการส่งข้อมูล ข้อดีบางประการของเส้นใยแสงที่เหนือกว่าสายโลหะก็คือมีการสูญเสียในการส่งน้อยและมีอิสรภาพจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าและมีความเร็วในการส่งรวดเร็วมากถึงล้านล้านบิตต่อวินาที เราสามารถใช้ความยาวคลื่นที่แตกต่างของแสงที่จะเพิ่มจำนวนของข้อความที่ถูกส่งผ่านสายเคเบิลใยแก้วนำแสงพร้อมกันในเส้นเดียวกัน
เทคโนโลยีไร้สาย
'ไมโครเวฟบนผิวโลก - การสื่อสารไมโครเวฟบนผิวโลกจะใช้เครื่องส่งและเครื่องรับสัญญาณจากสถานีบนผิวโลกที่มีลักษณะคล้ายจานดาวเทียม ไมโครเวฟภาคพื้นดินอยู่ในช่วงกิกะเฮิรตซ์ที่ต่ำ ซึ่งจำกัดการสื่อสารทั้งหมดด้วยเส้นสายตาเท่านั้น สถานีทวนสัญญาณมีระยะห่างประมาณ 48 กิโลเมตร (30 ไมล์)
ดาวเทียมสื่อสาร - การสื่อสารดาวเทียมผ่านทางคลื่นวิทยุไมโครเวฟที่ไม่ได้เบี่ยงเบนโดยชั้นบรรยากาศของโลก ดาวเทียมจะถูกส่งไปประจำการในอวกาศ ที่มักจะอยู่ในวงโคจร geosynchronous ที่ 35,400 กิโลเมตร (22,000 ไมล์) เหนือเส้นศูนย์สูตร ระบบการโคจรของโลกนี้มีความสามารถในการรับและถ่ายทอดสัญญาณเสียง, ข้อมูลและทีวี
ระบบเซลลูลาร์และ PCS ใช้เทคโนโลยีการสื่อสารวิทยุหลายเทคโนโลยี ระบบแบ่งภูมิภาคที่ครอบคลุมออกเป็นพื้นที่ทางภูมิศาสตร์หลายพื้นที่ แต่ละพื้นที่มีเครื่องส่งหรืออุปกรณ์เสาอากาศถ่ายทอดสัญญาณวิทยุพลังงานต่ำเพื่อถ่ายทอดสัญญาณเรียกจากพื้นที่หนึ่งไปยังอีกพื้นที่หนึ่งข้างหน้า
เทคโนโลยีวิทยุและการแพร่กระจายสเปกตรัม - เครือข่ายท้องถิ่นไร้สายจะใช้เทคโนโลยีวิทยุความถี่สูงคล้ายกับโทรศัพท์มือถือดิจิทัลและเทคโนโลยีวิทยุความถี่ต่ำ. LAN ไร้สายใช้เทคโนโลยีการแพร่กระจายคลื่นความถี่เพื่อการสื่อสารระหว่างอุปกรณ์หลายชนิดในพื้นที่จำกัด. IEEE 802.11 กำหนดคุณสมบัติทั่วไปของเทคโนโลยีคลื่นวิทยุไร้สายมาตรฐานเปิดที่รู้จักกันคือ Wifi
การสื่อสารอินฟราเรด สามารถส่งสัญญาณระยะทางสั้นๆมักไม่เกิน 10 เมตร ในหลายกรณีส่วนใหญ่ การส่งแสงจะใช้แบบเส้นสายตา ซึ่งจำกัดตำแหน่งการติดตั้งของอุปกรณ์การสื่อสาร
เครือข่ายทั่วโลก (global area network หรือ GAN) เป็นเครือข่ายที่ใช้สำหรับการสนับสนุนการใช้งานมือถือข้ามหลายๆ LAN ไร้สาย หรือในพื้นที่ที่ดาวเทียมครอบคลุมถึง ฯลฯ ความท้าทายที่สำคัญในการสื่อสารเคลื่อนที่คือการส่งมอบการสื่อสารของผู้ใช้จากพื้นที่หนึ่งไปอีกพื้นที่หนึ่ง ใน IEEE 802 การส่งมอบนี้เกี่ยวข้องกับความต่อเนื่องของ LAN ไร้สายบนผิวโลก .
เทคโนโลยีที่แปลกใหม่
มีความพยายามต่างๆที่ขนส่งข้อมูลผ่านสื่อที่แปลกใหม่ ได้แก่:
·         IP over Avian Carriers เป็นอารมณ์ขันของ April's fool เป็น RFC 1149 มันถูกนำมาใช้ในชีวิตจริงในปี 2001.
·         ขยายอินเทอร์เน็ตเพื่อมิติอวกาศผ่านทางคลื่นวิทยุ.
ทั้งสองกรณีมีการหน่วงเวลาสูงอันเนื่องมาจากสัญญาณต้องเดินทางไปกลับ ซึ่งจะทำให้การสื่อสารสองทางล่าช้ามาก แต่ก็ไม่ได้ขัดขวางการส่งข้อมูลจำนวนมาก

ชนิดของเครือข่าย
   ระบบเครือข่ายจะถูกแบ่งออกตามขนาดของเครือข่าย ซึ่งปัจจุบันเครือข่ายที่รู้จักกันดีมีอยู่ 6 แบบ ได้แก่
·         เครือข่ายภายใน หรือ แลน (Local Area Network: LAN) เป็นเครือข่ายที่ใช้ในการ เชื่อมโยงกันในพื้นที่ใกล้เคียงกัน เช่นอยู่ในห้อง หรือภายในอาคารเดียวกัน
·         เครือข่ายวงกว้าง หรือ แวน (Wide Area Network: WAN) เป็นเครือข่ายที่ใช้ในการ เชื่อมโยงกัน ในระยะทางที่ห่างไกล อาจจะเป็น กิโลเมตร หรือ หลาย ๆ กิโลเมตร
·         เครือข่ายงานบริเวณนครหลวง หรือ แมน (Metropolitan area network : MAN)
·         เครือข่ายของการติดต่อระหว่างไมโครคอนโทรลเลอร์ หรือ แคน (Controller area network) : CAN) เป็นเครือข่ายที่ใช้ติดต่อกันระหว่างไมโครคอนโทรลเลอร์ (Micro Controller unit: MCU)
·         เครือข่ายส่วนบุคคล หรือ แพน (Personal area network) : PAN) เป็นเครือข่ายระหว่างอุปกรณ์เคลื่อนที่ส่วนบุคคล เช่น โน้ตบุ๊ก มือถือ อาจมีสายหรือไร้สายก็ได้
·         เครือข่ายข้อมูล หรือ แซน (Storage area network) : SAN) เป็นเครือข่าย (หรือเครือข่ายย่อย) ความเร็วสูงวัตถุประสงค์เฉพาะที่เชื่อมต่อภายในกับอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลชนิดต่างกันด้วยแม่ข่ายข้อมูลสัมพันธ์กันบนคัวแทนเครือข่ายขนาดใหญ่ของผู้ใช้

อุปกรณ์เครือข่าย
·            เซิร์ฟเวอร์ (Server) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เครื่องแม่ข่าย เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์หลักในเครือข่าย ที่ทำหน้าที่จัดเก็บและให้บริการไฟล์ข้อมูลและทรัพยากรอื่นๆ กับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ ใน เครือข่าย โดยปกติคอมพิวเตอร์ที่นำมาใช้เป็นเซิร์ฟเวอร์มักจะเป็นเครื่องที่มีสมรรถนะสูง และมีฮาร์ดดิสก์ความจำสูงกว่าคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ ในเครือข่าย
·         ไคลเอนต์ (Client) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เครื่องลูกข่าย เป็นคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายที่ร้องขอ บริการและเข้าถึงไฟล์ข้อมูลที่จัดเก็บในเซิร์ฟเวอร์ หรือพูดง่าย ๆ ก็คือ ไคลเอนต์ เป็นคอมพิวเตอร์ ของผู้ใช้แต่ละคนในระบบเครือข่าย
·         ฮับ (HUB) หรือ เรียก รีพีตเตอร์ (Repeater) คืออุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมต่อกลุ่มคอมพิวเตอร์ ฮับ มีหน้าที่รับส่งเฟรมข้อมูลทุกเฟรมที่ได้รับจากพอร์ตใดพอร์ตหนึ่ง ไปยังพอร์ตที่เหลือ คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อเข้ากับฮับจะแชร์แบนด์วิธหรืออัตราข้อมูลของเครือข่าย เพราะฉะนั้นถ้ามีคอมพิวเตอร์เชื่อมต่อมากจะทำให้อัตราการส่งข้อมูลลดลง
·         เนทเวิร์ค สวิตช์ (Switch) คืออุปกรณ์เครือข่ายที่ทำหน้าที่ในเลเยอร์ที่ 2 และทำหน้าที่ส่งข้อมูลที่ได้รับมาจากพอร์ตหนึ่งไปยังพอร์ตเฉพาะที่เป็นปลายทางเท่านั้น และทำให้คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกับพอร์ตที่เหลือส่งข้อมูลถึงกันในเวลาเดียวกัน ดังนั้น อัตราการรับส่งข้อมูลหรือแบนด์วิธจึงไม่ขึ้นอยู่กับคอมพิวเตอร์ ปัจจุบันนิยมเชื่อมต่อแบบนี้มากกว่าฮับเพราะลดปัญหาการชนกันของข้อมูล
·         เราต์เตอร์ (Router)เป็นอุปรณ์ที่ทำหน้าที่ในเลเยอร์ที่ 3 เราท์เตอร์จะอ่านที่อยู่ (Address) ของสถานีปลายทางที่ส่วนหัว (Header) ข้อแพ็กเก็ตข้อมูล เพื่อที่จะกำหนดและส่งแพ็กเก็ตต่อไป เราท์เตอร์จะมีตัวจัดเส้นทางในแพ็กเก็ต เรียกว่า เราติ้งเทเบิ้ล (Routing Table) หรือตารางจัดเส้นทางนอกจากนี้ยังส่งข้อมูลไปยังเครือข่ายที่ให้โพรโทคอลต่างกันได้ เช่น IP (Internet Protocol) , IPX (Internet Package Exchange) และ AppleTalk นอกจากนี้ยังเชื่อมต่อกับเครือข่ายอื่นได้ เช่น เครือข่ายอินเทอร์เน็ต
·         บริดจ์ (Bridge) เป็นอุปกรณ์ที่มักจะใช้ในการเชื่อมต่อวงแลน (LAN Segments) เข้าด้วยกัน ทำให้สามารถขยายขอบเขตของ LAN ออกไปได้เรื่อยๆ โดยที่ประสิทธิภาพรวมของระบบ ไม่ลดลงมากนัก เนื่องจากการติดต่อของเครื่องที่อยู่ในเซกเมนต์เดียวกันจะไม่ถูกส่งผ่าน ไปรบกวนการจราจรของเซกเมนต์อื่น และเนื่องจากบริดจ์เป็นอุปกรณ์ที่ทำงานอยู่ในระดับ Data Link Layer จึงทำให้สามารถใช้ในการเชื่อมต่อเครือข่ายที่แตกต่างกันในระดับ Physical และ Data Link ได้ เช่น ระหว่าง Eternet กับ Token Ring เป็นต้น
บริดจ์ มักจะถูกใช้ในการเชื่อมเครือข่ายย่อย ๆ ในองค์กรเข้าด้วยกันเป็นเครือข่ายใหญ่ เพียงเครือข่ายเดียว เพื่อให้เครือข่ายย่อยๆ เหล่านั้นสามารถติดต่อกับเครือข่ายย่อยอื่นๆ ได้
·         เกตเวย์ (Gateway) เป็นอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ที่เชื่อมต่อเครือข่ายต่างประเภทเข้าด้วยกัน เช่น การใช้เกตเวย์ในการเชื่อมต่อเครือข่าย ที่เป็นคอมพิวเตอร์ประเภทพีซี (PC) เข้ากับคอมพิวเตอร์ประเภทแมคอินทอช (MAC) เป็นต้น

โพโทคอลการสื่อสาร
คือชุดของกฎหรือข้อกำหนดต่างๆสำหรับการแลกเปลี่ยนข้อมูลในเครือข่าย ในโพรโทคอลสแต็ค (ระดับชั้นของโพรโทคอล ดูแบบจำลองโอเอสไอ) แต่ละโพรโทคอลยกระดับการให้บริการของโพรโทตคลที่อยู่ในชั้นล่าง ตัวอย่างที่สำคัญในโพรโทคอลสแต็คได้แก่ HTTP ที่ทำงานบน TCP over IP ผ่านข้อกำหนด IEEE 802.11 (TCP และ IP ที่เป็นสมาชิกของชุดโปรโตคอลอินเทอร์เน็ต. IEEE 802.11 เป็นสมาชิกของชุดอีเธอร์เน็ตโพรโทคอล.) สแต็คนี้จะถูกใช้ระหว่างเราต์เตอร์ไร้สายกับคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลของผู้ใช้ตามบ้านเมื่อผู้ใช้จะท่องเว็บ
โพรโทคอลการสื่อสารมีลักษณะต่างๆกัน ซึ่งอาจจะเชื่อมต่อแบบ connection หรือ connectionless, หรืออาจจะใช้ circuit mode หรือแพ็กเกตสวิตชิง, หรืออาจใช้การ addressing ตามลำดับชั้นหรือแบบ flat
มีโพรโทคอลการสื่อสารมากมาย บางส่วนได้อธิบายไว้ด้านล่างนี้
อีเธอร์เน็ต
   Internet protocol suite
อินเทอร์เน็ตโปรโตคอลสวืท, หรือที่เรียกว่า TCP / IP, เป็นรากฐานของระบบการเชื่อมโยงเครือข่ายที่ทันสมัย ทำให้มีการเชื่อมต่อแบบ connection-less เช่นเดียวกับ connection-oriented ผ่านเครือข่ายที่ไม่น่าเชื่อถือโดยการส่งดาต้าแกรม(ข้อมูลที่ถูกแบ่งเป็นชิ้นเล็กๆ)ที่เลเยอร์โปรโตคอลอินเทอร์เน็ต (IP) ที่แกนกลางของมัน ชุดโพรโทคอลกำหนด address, การระบุตัวตน, และคุณสมบัติของการเราต์ติงสำหรับ Internet Protocol Version 4 (IPv4) และ IPv6 ซึ่งรุ่นต่อไปที่มีความสามารถในการขยายระบบ addressing อย่างมาก
   SONET/SDH
Synchronous optical networking (SONET) และ Synchronous Digital Hierarchy (SDH) เป็นโพรโทคอลมาตรฐานสำหรับการ multiplexing ที่ทำการถ่ายโอนกระแสบิตดิจิตอลที่หลากหลายผ่านใยแก้วนำแสง. พวกมันแต่เดิมถูกออกแบบมาเพื่อการขนส่งในการสื่อสารแบบ circuit mode จากแหล่งที่มาที่หลากหลายแตกต่างกัน, เบื้องต้นเพื่อสนับสนุนระบบเสียงที่เป็น circuit-switched ที่เข้ารหัสในฟอร์แมท PCM (Pulse-Code Modulation) ที่เป็นเรียลไทม์และ ถูกบีบอัด. อย่างไรก็ตามเนื่องจากความเป็นกลางและคุณสมบัติที่เป็น transport-oriented, SONET/SDH ยังเป็นตัวเลือกที่ชัดเจนสำหรับการขนส่งเฟรมของ Asynchronous Transfer Mode (ATM)
   Asynchronous Transfer Mode
เป็นเทคนิคการ switching สำหรับเครือข่ายการสื่อสารโทรคมนาคม ที่ใช้ asynchronous time-division multiplexing ATM จะเข้ารหัสข้อมูลที่เป็นเซลล์ขนาดเล็กคงที่ วิธีนี้จะแตกต่างจากโพรโทคอลอื่น ๆ เช่น Internet Protocol สวีทหรืออีเธอร์เน็ตที่ใช้แพ็กเกตหลายขนาด ATM มีความคล้ายคลึงกันกับ circuit switched และ packet switched networking. ATM จึงเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับเครือข่ายที่ต้องจัดการทั้งแบบการจราจรที่มีข้อมูล throughput สูงแบบดั้งเดิมและแบบเนื้อหา real-time, ความล่าช้าแฝงต่ำเช่นเสียงและวิดีโอ. ATM ใช้รูปแบบการเชื่อมต่อแบบ connection-oriented model ในที่ซึ่งวงจรเสมือนจะต้องจัดตั้งขึ้นระหว่างจุดสิ้นสุดสองจุดก่อนที่การแลกเปลี่ยนข้อมูลที่เกิดขึ้นจริงจะเริ่มขึ้น
ในขณะที่บทบาทของ ATM จะลดน้อยลงเนื่องจากความโปรดปรานของเครือข่ายรุ่นต่อไป มันยังคงมีบทบาทในการเป็นไมล์สุดท้ายซึ่งคือการเชื่อมต่อระหว่างผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตและผู้ใช้ตามบ้าน สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมของเทคโนโลยีและโปรโตคอลการสื่อสาร โปรดอ่านเพิ่มเติมในหัวข้อข้างท้าย
               
ขอบเขตของเครือข่าย
   เครือข่ายโดยทั่วไปถูกจัดการโดยองค์กรที่เป็นเจ้าของ เครือข่ายองค์กรเอกชนอาจจะใช้รวมกันทั้งอินทราเน็ตและเอ็กซ์ทราเน็ต และยังอาจจัดให้มีการเข้าถึงเครือข่ายอินเทอร์เน็ตซึ่งไม่มีเจ้าของเดียวและให้การเชื่อมต่อทั่วโลกแทบไม่จำกัด


อินทราเน็ตและเอ็กซ์ทราเน็ต

อินทราเน็ตและเอ็กซ์ทราเน็ตเป็นส่วนหนึ่งหรือส่วนขยายของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มักจะเป็น LAN
อินทราเน็ต เป็นชุดของเครือข่ายที่อยู่ภายใต้การควบคุมของหน่วยการบริหารเดียว อินทราเน็ตใช้โปรโตคอล IP และเครื่องมือที่เป็น IP-based เช่นเว็บเบราเซอร์และโปรแกรมการถ่ายโอนไฟล์ หน่วยการบริหารจำกัดการใช้อินทราเน็ตเฉพาะผู้ได้รับอนุญาตเท่านั้น ส่วนใหญ่แล้ว อินทราเน็ตจะเป็นเครือข่ายภายในองค์กร อินทราเน็ตขนาดใหญ่มักจะมีเว็บเซิร์ฟเวอร์อย่างน้อยหนึ่งตัวเพื่อให้ผู้ใช้เข้าถึงข้อมูลขององค์กรเอง
เอ็กซ์ทราเน็ต เป็นเครือข่ายที่ยังอยู่ภายใต้การควบคุมของผู้ดูแลระบบขององค์กรเดียว แต่สนับสนุนการเชื่อมต่อที่จำกัดเฉพาะเครือข่ายภายนอกที่เฉพาะเจาะจง ตัวอย่างเช่นองค์กรอาจจัดให้มีการเข้าถึงบางแง่มุมของอินทราเน็ตของบริษัทเพื่อแชร์ข้อมูลร่วมกับคู่ค้าทางธุรกิจหรือลูกค้า หน่วยงานอื่น ๆ เหล่านี้ไม่จำเป็นต้องได้รับความเชื่อถือจากมุมมองของการรักษาความปลอดภัย การเชื่อมต่อเครือข่ายเอ็กซ์ทราเน็ตมักจะเป็น, แต่ไม่เสมอไป, การดำเนินการผ่านทาง WAN เทคโนโลยี

   Internetwork

Internetwork คือการเชื่อมต่อของหลายเครือข่ายคอมพิวเตอร์ผ่านทางเทคโนโลยีการกำหนดเส้นทางร่วมกันโดยใช้เราต์เตอร์

   อินเทอร์เน็ต

อินเทอร์เน็ตเป็นตัวอย่างที่ใหญ่ที่สุดของ Internetwork มันเป็นระบบที่เชื่อมต่อกันทั่วโลกของภาครัฐ, นักวิชาการ, องค์กรของรัฐและเอกชน, และเครือข่ายคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล มันขึ้นอยู่กับเทคโนโลยีระบบเครือข่ายของ Internet Protocol สวีท ซึ่งสืบทอดมาจากโครงการวิจัยขั้นสูงของหน่วยงานเครือข่าย (ARPANET) พัฒนาโดย DARPA ของกระทรวงกลาโหมสหรัฐอเมริกา อินเทอร์เน็ตยังเป็นแกนนำการสื่อสารพื้นฐานเวิลด์ไวด์เว็บ (WWW)
ผู้เข้าร่วมใน Internet ใช้ความหลากหลายของวิธีการหลายร้อยโพรโทคอลที่ถูกทำเป็นเอกสารและเป็นมาตรฐานไว้แล้ว โพรโทคอลดังกล่าวมักจะเข้ากันได้ดีกับ Internet Protocol Suite และระบบ addressing (ที่อยู่ IP) ที่ถูกบริหารงานโดยหน่วยงานกำหนดหมายเลขอินเทอร์เน็ตและทะเบียน address. ผู้ให้บริการและองค์กรขนาดใหญ่ทำการแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับความสามารถในการเข้าถึงพื้นที่ที่เป็น address ของพวกเขาผ่าน Border Gateway Protocol (BGP) ทำให้เป็นเส้นทางการส่งที่ซ้ำซ้อนของตาข่ายทั่วโลก


โทโพโลยีเครือข่าย
   โทโพโลยีเครือข่ายเป็นรูปแบบหรือลำดับชั้นของโหนดที่เชื่อมต่อกันของเครือข่ายคอมพิวเตอร์
รูปแบบสามัญ
รูปแบบที่พบบ่อยคือ:
·         เครือข่ายแบบบัส: ทุกโหนดจะถูกเชื่อมต่อกับสื่อกลางไปตลอดทั้งตัวสื่อนี้ รูปแบบนี้ใช้ในต้นฉบับอีเธอร์เน็ตที่เรียกว่า 10BASE5 และ 10Base2
·         เครือข่ายรูปดาว: ทุกโหนดจะเชื่อมต่อกับโหนดกลางพิเศษ รูปแบบนี้พบโดยทั่วไปใน LAN ไร้สายที่ลูกค้าแต่ละรายเชื่อมต่อแบบไร้สายกับจุดการเข้าถึง (Wireless access point)
·         เครือข่ายวงแหวน: แต่ละโหนดมีการเชื่อมต่อไปยังโหนดข้างเคียงด้านซ้ายและด้านขวา เพื่อที่ว่าทุกโหนดมีการเชื่อมต่อและแต่ละโหนดสามารถเข้าถึงโหนดอื่น โดยเข้าหาทางโหนดด้านซ้ายหรือโหนดด้านขวาก็ได้ ไฟเบอร์การเชื่อมต่อข้อมูลแบบกระจาย (Fiber Distributed Data Interface หรือ FDDI) ใช้โทโพโลยีแบบนี้
·         เครือข่ายตาข่าย: แต่ละโหนดจะเชื่อมต่อกับโหนดอื่นๆได้เกือบทั้งหมดในลักษณะที่มีอยู่อย่างน้อยหนึ่งเส้นทางไปยังโหนดใดๆ แต่อาจต้องผ่านโหนดอื่นไป
·         เครือข่ายที่เชื่อมต่ออย่างเต็มที่: ในแต่ละโหนดจะเชื่อมต่อกับทุกโหนดอื่น ๆ ในเครือข่าย
·         ต้นไม้: ในกรณีนี้โหนดทั้งหมดมีการจัดลำดับชั้น
โปรดสังเกตว่ารูปแบบทางกายภาพของโหนดในเครือข่ายอาจไม่จำเป็นต้องสะท้อนให้เห็นถึงโทโพโลยีเครือข่าย ตัวอย่างเช่น, FDDI มีโทโพโลยีเครือข่ายเป็นวงแหวน (ที่จริงสองวงหมุนสวนทางกัน) แต่โครงสร้างทางกายภาพอาจเป็นรูปดาวเพราะทุกการเชื่อมต่อกับโหนดที่อยู่ใกล้เคียงจะถูกส่งผ่านโหนดที่อยู่ตรงกลาง

เครือข่ายซ้อนทับ
เครือข่ายซ้อนทับเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์เสมือนที่ถูกสร้างขึ้นทับบนเครือข่ายอื่น โหนดในเครือข่ายซ้อนทับจะถูกลิงค์เข้าด้วยกันแบบเสมือนหรือแบบลอจิก ที่ซึ่งแต่ละลิงค์จะสอดคล้องกับเส้นทางในเครือข่ายหลักด้านล่าง ที่อาจจะผ่านการลิงค์ทางกายภาพหลายลิงค์ โทโพโลยีของเครือข่ายซ้อนทับอาจ (และมักจะ) แตกต่างจากของเครือข่ายด้านล่าง. เช่น เครือข่ายแบบ peer-to-peer หลายเครือข่ายเป็นเครื่อข่ายซ้อนทับ พวกมันจะถูกจัดให้เป็นโหนดของระบบเสมือนจริงของลิงค์ที่ทำงานบนอินเทอร์เน็ต อินเทอร์เน็ตถูกสร้างขึ้นครั้งแรกเป็นภาพซ้อนทับบนเครือข่ายโทรศัพท์.
ตัวอย่างที่โดดเด่นที่สุดของเครือข่ายซ้อนทับคือระบบของ Internet เอง. ที่เลเยอร์เครือข่ายแต่ละโหนดสามารถเข้าถึงโหนดอื่น ๆ โดยการเชื่อมต่อโดยตรงไปยัง IP address ที่ต้องการ ทำให้เกิดการสร้างเครือข่ายที่ถูกเชื่อมต่ออย่างเต็มที่ อย่างไรก็ตาม เครือข่ายด้านล่างจะประกอบด้วยการเชื่อมต่อภายในเหมือนตาข่ายของเครือข่ายย่อยที่มี topologies (และเทคโนโลยี)ที่แตกต่างกัน การจำแนก address และการเราต์ติงค์เป็นวิธีที่ใช้ในการทำ mapping ของเครือข่ายซ้อนทับ(แบบ IP ที่ถูกเชื่อมต่ออย่างเต็มที่)ข้างบนกับเครือข่ายที่อยู่ข้างล่าง
เครือข่ายซ้อนทับเกิดขึ้นตั้งแต่มีการสร้างเครือข่ายเมื่อระบบคอมพิวเตอร์ถูกเชื่อมต่อผ่านสายโทรศัพท์โดยใช้โมเด็ม และเกิดขึ้นก่อนที่จะมีเครือข่ายข้อมูลเสียอีก
อีกตัวอย่างของเครือข่ายซ้อนทับก็คือตารางแฮชกระจายซึ่ง map คีย์(keys)ไปยังโหนดในเครือข่าย ในกรณีนี้เครือข่ายข้างใต้เป็นเครือข่าย IP และเครือข่ายทับซ้อนเป็นตาราง (ที่จริงเป็นแผนที่) ที่ถูกทำดัชนีโดยคีย์
เครือข่ายซ้อนทับยังได้รับการเสนอให้เป็นวิธีการปรับปรุงการเราต์ติงค์ในอินเทอร์เน็ต เช่นการเราต์โดยการรับประกันคุณภาพการให้บริการเพื่อให้ได้สื่อกลางสตรีมมิ่งที่มีคุณภาพสูง ข้อเสนอก่อนหน้านี้เช่น IntServ, DiffServ และ IP Multicast ไม่ได้เห็นการยอมรับอย่างกว้างขวางเพราะข้อเสนอเหล่านี้จำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนของเราต์เตอร์ทั้งหมดในเครือข่าย. ในขณะที่เครือข่ายทับซ้อนถูกนำไปใช้งานเพิ่มขึ้นบน end-hosts ที่ run ซอฟแวร์โปรโตคอลทับซ้อนโดยไม่ต้องรับความร่วมมือจากผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต เครือข่ายซ้อนทับไม่มีการควบคุมวิธีการที่แพ็คเก็ตจะถูกเราต์ในเครือข่ายข้างล่างระหว่างสองโหนดที่ซ้อนทับกัน แต่มันสามารถควบคุม, ตัวอย่างเช่น, ลำดับของโหนดซ้อนทับที่ข้อความจะลัดเลาะไปก่อนที่จะถึงปลายทาง

ตัวอย่างเช่น Akamai เทคโนโลยีทำการบริหารจัดการเครือข่ายซ้อนทับที่ดำเนินการจัดส่งเนื้อหาอย่างมีประสิทธิภาพและน่าเชื่อถือ (ชนิดหนึ่งของ multicast). งานวิจัยที่เป็นวิชาการรวมถึงการ multicast ระบบปลาย, การเราต์ติงค์ที่มีความยืดหยุ่นและการศึกษาเรื่อง'คุณภาพของบริการ'(quality of service), ระหว่างเครือข่ายซ้อนทับอื่น ๆ